ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้

Monday, March 1, 2010

ร่วมเสนอทางออกที่นี่ครับ

อาจจะสังเกตได้ว่า ในจดหมายเปิดผนึกนั้นพวกเราไม่ได้มีการเสนอทางแก้ไขปัญหาที่ได้กล่าวมาเลย เหตุผลที่พวกเราไม่ได้เสนอทางแก้ไปในจดหมายเปิดผนึกมีดังนี้

  • เนื่องจากพวกเราไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง พวกเราคิดว่าการไปคิดแทนผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และเสนอให้ สทศ. ทำอย่างที่เราต้องการนั้นไม่เป็นการสมควร เพราะอาจจะมองในมุมที่ต่างกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ

  • แน่นอนครับเราได้มีการคิดถึงการวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว และวิธีการป้องกันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พวกเราเชื่อว่าไม่มีทางที่จะทำให้ทุกคนเห็นด้วยกับวิธีทางแก้ปัญหาที่เราเสนอได้ แต่เราเชื่อว่าทุกคนตระหนักดีว่ามันมีปัญหาที่สทศ.ไม่ยอมรับว่าเป็นปัญหา จุดประสงค์การเขียนจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้คือ การดึงให้นักเรียน ครู และมหาวิทยาลัยกลับไปอยู่บนโต๊ะเจรจากับสทศ. ให้สทศ.รับฟังเสียงรอบข้างเพื่อการตัดสินใจที่รอบคอบเพื่อหาทางแก้ไขที่ยุติธรรมกับทุกฝ่าย และทางป้องกันที่ดี


เพราะฉะนั้นพวกเราอยากให้ทุกท่านใช้พื้นที่ comment นี้เพื่อร่วมเสนอแนวทางแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและแนวทางป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นอีก และขอความกรุณาทุกท่านโปรดใช้คำสุภาพ

58 comments:

  1. น่าจะกลับไปใช้ระบบสอบเข้่าหรือว่า Entrance เหมือนสมัยก่อน
    แต่อาจจะปรับเรื่องของข้อสอบให้เดายากหน่อย (ถ้าคิดว่าไม่อยากให้เดาได้)

    อาจจะใช้การสอบแบบนี้ผสมกับการให้เอาคะแนนสอบไปเลือกคณะเองได้... ผมว่าก็น่าจะดี แต่ถ้าเป็นแบบปัจจุบันนี้ ปีนึงสอบตั้งหลายครั้ง เครียดตลอดเวลา...เด็กกิจกรรมที่ไม่เก่งจริงๆ ก็อดเข้าสถาบันที่ต้องการ หรือไม่งั้นก็ต้องหันมาบ้าเรียนโดยไม่สนกิจกรรม ทำให้ขาดทักษะการใช้ชีวิตไปเยอะ...

    ReplyDelete
  2. โดยส่วนตัวผมเห็นตัวกับการออกข้อสอบแบบนนี้นะ นะทำให้เดาได้ยากแต่การนำเอาข้อสอบแบบนี้ไปรวมกับวิชาเช่นการงาน สุขศึกษา ผมว่ามันเกินไป ควรมีการปรับข้อสอบใหม่ให้ดียิ่งขึ้นและ ผลว่าคิดว่าระบบ Entrance ยังเป็นระบบที่ดีมากที่สุดอยู่ครับ

    ReplyDelete
  3. โดยส่วนตัวเนี่ย ผมชอบแบบที่ เอ็นปีละสองทีเผื่อคนไม่สบายวันสอบ ก็เก็บคะแนนไม่ได้เพราะเก็บแล้วเกิดปัญหาการเปรียบเทียบว่าข้อสอบคนละแบบอะไรอย่างนี้ถ้าจะเปลี่นแล้ว

    ReplyDelete
  4. ขอบคุณมากที่เป็นตัวตั้งตัวตีจัดการทำจดหมายขึ้นมาครับ

    ในส่วนเนื้อหาในจดหมายนั้น ผมไม่เห็นด้วยบางส่วน เช่น เรื่องความน่าจะเป็นของคำตอบ ผมเห็นด้วยในความเห็นของคนออกข้อสอบที่ไม่ต้องการให้มั่วถูก เนื่องจากเด็กต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจในการตอบอย่างถูกต้อง ฉะนั้นผมจึงเห็นว่าความน่าจะเป็นให้เป็น 0 ได้ยิ่งดี เช่น ข้อสอบอัตนัยเป็นต้น เพียงแต่ว่าข้อสอบอัตนัยของเด็กเป็นแสนอาจจะมีปัญหาในมาตรฐานการตรวจอีก

    ดังนั้น ผมจึงเห็นด้วยกับระบบข้อสอบความสัมพันธ์ 3 ตัวเลือก เพียงแต่ว่าข้อคำถามนั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสามารถวัดอะไรเด็กได้ หลายๆท่านในที่นี้เรียนหลักสูตรเมืองนอก คงทราบว่าจะทำอะไรแต่ละทีพิสูจน์กันไม่รู้กี่ตลบ ผมเห็นว่าข้อสอบก็ควรได้รับการตรวจวิเคราะห์และวัดผลอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่ใช้แค่ "ความคิดเห็นและตรรกะ(idea and logic)" ของใครหรือคณะกรรมการใดคณะกรรมการหนึ่ง

    อนึ่ง ในเรื่องกระบวนวิธีการออกข้อสอบนั้น ผมก็ไม่ทราบว่าทางผู้จัดทำได้ทำการทดสอบ หาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของการกระจายของคำตอบจากผู้ทดสอบ (แล้วดูผลว่าอยากให้คนที่ตอบถูกอยู่ในกลุ่มตรงกลางหรือกลุ่ม top) หรือไม่ ก็ไม่แน่ใจว่าเขาจะให้ยากขนาดแค่คน 10% ของทั้งประเทศถูกหรืออยากให้คนส่วนใหญ่ถูก หรือยังไง อย่างไร ผมก็ยังหาคำตอบไม่ได้อีกเช่นกัน มีแต่หลักการลอยๆขึ้นมาก อย่างน้อยผมก็ไม่เคยได้ยินว่ามีการทดสอบข้อสอบแนวนี้มาก่อนในไทย เห็นเมืองนอกเขาทำมา(ซึ่งก็ไม่ทราบว่าที่ไหน มีกี่ paper ที่สนับสนุนวิธีนี้) ก็ copy มาไม่แน่ใจว่าดูในรายละเอียดกันหรือยัง


    ในเรื่องการเปรียบเทียบคะแนนนั้น ทางคณะกรรมการควรจะสร้างตารางเทียบอย่างเป็นเหตุเป็นผลขึ้นมาว่า คะแนะเท่าไหร่ เทียบได้คะแนะเท่าไหร่ในแต่ละวิธี แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากข้อสอบในปีนี้ไม่มีที่มาที่พิสูจน์ได้อย่างแน่ชัด การใช้ตารางคำนวณเพื่อเทียบคะแนะกลับย่อมเป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน (อันนี้ยอมรับว่ายังไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรสำหรับกรณีเฉพาะของปีนี้)

    เนื่องจากเนื้อหาในจดหมายมีความโน้มเอียงไปทางไม่สนับสนุนในการออกข้อสอบแบบนี้ ผมจึงมาลงความเห็นแย้งไว้และแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขไว้ ณ ที่นี้นะครับ

    ReplyDelete
  5. ข้อสองนี่พวกเราถกกันพอสมควรเลยนะครับ ว่าเขียนยังไงดี เพราะพวกเราเห็นด้วยครับกับการทำให้คะแนนสะท้อนความสามารถที่แท้จริงของเด็ก ไม่ใช่การเดา แต่การเปลี่ยนแล้วเทียบตรง ๆ นี่พวกเราไม่เห็นด้วยครับ ผมว่าพวกเราเขียนแบบระมัดระวังแล้วนะครับ

    ยกมาให้อ่านครับ

    2) การเปลี่ยนรูปแบบข้อสอบก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมในการเปรียบเทียบ

    พวกเราได้ตระหนักดีและเห็นด้วยกับวัตถุประสงค์ของสทศ.ที่ต้องการให้คะแนนที่นักเรียนได้สะท้อนถึงความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบข้อสอบโดยเพิ่มจำนวนตัวเลือก อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนนั้นทำให้ค่าคาดหวัง (Expected Value) ของคะแนนที่จะได้จากรูปแบบการสอบใหม่ แตกต่างออกไปจากแบบเก่า ตัวอย่างเช่น ในวิชาสังคมศึกษา ระบบข้อสอบได้มีการเปลี่ยนแปลงจาก การเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดจากสี่ตัวเลือกในแต่ละคำถาม เป็นเลือกคำตอบที่ถูกทั้งหมดจากสี่ตัวเลือก และต้องตอบให้ถูกต้องทั้งหมดจึงจะได้รับคะแนนในข้อนั้นๆ ทำให้ความน่าจะเป็นในการเลือกคำตอบที่ถูกต้องจากการเดาสุ่มลดลงจากร้อยละ 25 เหลือเพียงร้อยละ 6.25 ในแต่ละคำถาม ยังผลให้นักเรียนที่รับการทดสอบในต่างปีมีโอกาสได้รับคะแนนที่ต่างกันแม้จะมีความรู้ความสามารถที่เท่ากัน ดังนั้น การเปรียบเทียบคะแนนสอบของนักเรียนที่รับการทดสอบในปีที่ต่างกันในส่วนนี้โดยตรงจึงเป็นการไม่ยุติธรรม

    ReplyDelete
  6. เรื่องการเดาเนี่ยผมคิดว่าใช้วิธีคำนวณคะแนนก็ได้นี่ครับ
    แบบที่ อ. เจษฎา ใช้กับ GT200

    คือถ้าโอกาสเดาถูก 25%
    เราก็เริ่มนับจากคะแนนที่ 26 มาเทียบกับอัตราส่วนความสามารถ

    เช่น ข้อสอบ 100 ข้อ สี่ตัวเลือก (โอกาสเดาถูก 25%)
    แปลว่าคะแนนที่ 1-25 ยังคิดไม่ได้ (เพราะถ้าเดาถูกหมดก็ได้ประมาณนี้)
    แต่คะแนนที่ 26 - 100 เอามาหาอัตราส่วนความสามารถได้
    คือ คะแนนจริง = (คะแนนดิบ - 25) * (100/75)
    ถ้าคะแนนดิบได้ 25 => คะแนนจริงจะได้ 0
    26 => 1.33
    27 => 2.66
    ...
    50 => 33.33
    ...
    75 => 66.66
    ...
    100 => 100

    ReplyDelete
  7. ใจจริงผมอยากให้กลับไปเป็นระบบ ENT แบบสองครั้งนะครับ ผมว่ากำลังดี แม้มีจุดเหลื่อมล้ำกันไปบ้างก็ไม่มากมายนัก

    จำนวนครั้งที่สอบก็กำลังดี สำหรับ 3 ครั้งนั้นผมว่ามากไปครับ รวมกับ O-Net ก็เป็น 4 และบรรดาสอบตรงอีกมากมาย หากเด็กมีความสนใจหลายด้านซึ่งก็ไม่ผิด เค้าอาจต้องตระเวณสอบตรงในหลายคณะ เด็กมีภาระในสอบมากเกินไปครับ ม.6 กลายเป็นเทศกาลสอบไปน่ะครับ และในการสอบในโรงเรียนเด็กก็เหมือนต้องเก็บคะแนนในส่วน GPA ไปอยู่แล้วด้วยน่ะครับ ซึ่งตรงนี้ก็มีทั้งข้อดีข้อเสียที่ท้วงติงกันมานานแล้ว จึงไม่ขอกล่าวในรายละเอียด แต่ความเห็นส่วนตัวคิดว่า ทุกการสอบย่อมมีความเครียด การที่เด็กต้องสอบบ่อยๆ และทุกๆการสอบมีผลต่อเค้าค่อนข้างมาก อาจทำให้เด็กไม่มีความสุขในการเรียนได้น่ะครับ ซึ่งจะเป้นปัญหามาก หากเด็กรู้สึกแบบนั้น และมีเด็กที่รู้สึกแบบนั้นแล้วจริงๆน่ะครับ

    เมื่อเป็นเช่นนี้การเป็นเรียนเพื่อรู้ก็จะน้อยลง การเรียนตามความถนัดและสนใจก็น้อยลง เพราะถูกตีกรอบให้เรียนทุกอย่างที่ผู้ใหญ่เราเห็นว่าดี มีการเรียนเพื่อสอบมากขึ้น ในวิชาที่ไม่สนใจก็อาจจะยังไม่สนใจเช่นเคย แต่ก็จำใจต้องเรียน เพราะต้องนำมาสอบ อาจทำให้เกิดปัยหากวดวิชามากขึ้น เพราะเด็กไม่อาจจะถนัดได้ในทุกวิชา บางวิชาอาจจะศึกษาเองได้ แต่ในวิชาที่ไม่ได้จริงๆ แต่ดันมีผลกับคะแนนเค้า เค้าย่อมหาที่พึ่งเป็นธรรมดาครับ เพราะเราใช้ส่วนนี้ ส่วนคะแนนนี้มา force ให้เด็กเรียนในวิชาต่างๆ ไม่ได้ไปปรับที่การนำเสนอของครูว่าจะทำยังไงให้เด็กสนใจในวิชาที่เรารับผิดชอบมาสอน ซึ่งหากแก้ตรงนี้ได้น่าจะแก้ปัญหาได้ดีกว่า การนำคะแนนและการสอบมา force ให้เด็กต้องเรียนน่ะครับ และจริงๆ ผมเห็นว่า เด็กวิศวะในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่ควรต้องสอบชีวะครับ ยิ่งถ้าแนวโน้มข้อสอบต้องการให้รู้จริงยิ่งๆขึ้นแล้วด้วยนะครับ หากกระบวนการเรียนการสอนครูผู้สอนจูงให้เด็กสนใจและเห็นความสำคัญในวิชานั้นๆได้แม้ไม่ต้องนำไปใช้สอบ เด็กก็ปเดใจรับและสนใจเรียนรู้ได้เช่นกัน โดยไม่จำต้องนำมาวัดสอบตอนคัดเข้ามหาวิทยาลัยอีกเพราะมันเป็นคนละจุดประสงค์แล้วน่ะครับ การคัดคนเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยโจทย์น่าจะยอูยู่ที่ว่า เด็กมีความรู้เพียงพอไหมที่จะศึกษาต่อในสาขาวิชานั้นๆรึเปล่ามากกว่าน่ะครับ

    ReplyDelete
  8. เรื่องกรณีที่มีการรับตรงกันเยอะขึ้นๆ จนบางคณะเป็น 100 % และอีกหลายคณะที่รับส่วนกลางเพียง 10- 20 % เท่านั้น ซึ่งกลับกับสมัยก่อนมากที่ส่วนกลางย่อมเป็นส่วนกลางเด็กส่วนใหญ่เข้ามาจากช่องทางนี้ ส่วนการสอบตรงเป็นการรับเด็กบางส่วน ตรงนี้ก็สะท้อนปัญหาได้ดีด้วยครับ กล่าวคือจุดประสงค์ของการมีระบบส่วนกลางก็เพื่อความเท่าเทียม ให้มันเป็นมาตรฐานเดียวกัน อำนวยความสะดวก ทั้งในแง่การเดินทางในแง่ค่าใช้จ่าย สะดวกที่จะไม่ต้องตระเวณสอบแม้มีความสนใจในอาชีพที่หลากหลายไม่ว่าจะมีอาชีพที่ใฝ่ฝันในใจสองอย่างสามอย่างก็แล้วแต่ ก็มาสอบฉบับนี้ฉบับเดียวได้เลย แต่จากสิ่งที่เห็นคือหลายภาคส่วนหันไปรับเอง ความไม่เท่าเทียมก็เกิดขึ้นได้ ยังไงระบบส่วนกลางหากทุกภาคส่วนยอมรับในมาตรฐานย่อมโปร่งใสที่สุด และเป็นมาตรฐานเดียวกันที่สุด แต่ระบบส่วนกลางตอนนี้ไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ของการจัดให้มีขึ้นแล้วน่ะครับ จึงเกิดผลตามมาอีกมากมาย เกิดความไม่สะดวกเด็กต้องวิ่งรอกไปสอบตรง เพื่อความอยู่รอดของตนเพราะหลายคณะรับจากส่วนกลางแทบทั้งหมดแล้วน่ะครับ เสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น บางครอบครัวอาจไม่ไหวน่ะครับ รวมถึงค่าสอบของ สทศ. สมัยก่อนรุ่น ENT ค่าสอบไม่สูงแบบนี้ อย่างแรกเพราะสอบไม่บ่อยขนาดนี้และทุกวิชาที่จัดสอบ ทุกภาคส่วนต่างก็ให้การยอมรับ แม้แต่แพทย์เอง เด็กก็มาสอบที่ข้อสอบฉบับเดียวกันนี้ ก็แค่นำคะแนนตรงส่วนกลางนี้เอง ไปยื่นเพื่อพิจาณา หากจะท้วงติงกลับว่าทำไมจึงไม่เลือกสอบเพียงครั้งเดียวที่พร้อม จะได้ไม่สิ้นเปลือง ในความเป็นจริงนั้น เราจะพอทราบผลว่าพอใจไหมก็ต่อเมื่อสอบเรียบร้อยแล้ว แต่ในการเก็บค่าสอบของ สทศ.ต้องจ่ายทีเดียวและเลือกเลยว่าจะสอบครั้งใดบ้าง ในกรณีแบบนี้แม้เด็กจะคิดว่าตนพร้อมในครั้งแรก แต่คงเป็นการยากที่จะเลือกตัดสินใจสอบเฉพาะครั้งแรก แม้เค้าจะทำครั้งแรกได้ดีแล้วจริงๆดังใจก็ตาม หรือเด็กที่คิดว่าจะพร้อมในการสอบครั้งสุดท้ายก็คงจะไม่กล้าที่จะละทิ้งการสอบสองครั้งแรกไป และในความจริงที่เป็นมาตรฐานความยากง่าย ไม่มีทางที่แต่ละฉบับจะเหมือนกันได้ 100 % และที่ออกมาก็ไม่เท่ากันอย่างเก็นได้ชัดครับ ยืนยันจากการลองนั่งทำเองในสาขาที่จบมาเลย ไม่ได้ฟังจากด็กหรือจากใคร ความยากง่ายต่างกันจริงๆครับ ผนวกไปกับรูปแบบของการถามตอบอีกซึ่งมีผลต่อคะแนนแน่นอน เพราะแม้ในกรอบความรู้ที่เท่ากัน แต่ในการสอบก็ต้องมีการเตรียมตัว ในการเตรียมตัวสอบปรนัย กับการเตรียมตัวสอบอัตนัย ก็ยังต่างกันในรายละเอียดเลยน่ะครับ หากจะมองว่าจะอะไรนักหนากับคะแนน แต่คะแนนเป็นตัวชี้วัดผลความรู้ที่นำมาใช้คัดเลือกคนกลุ่มใหญ่ๆแบบนี้ได้ดีที่สุดน่ะครับ ดังนั้นจะมองข้ามประเด็นเล็กๆน้อยๆที่เกี่ยวกับคะแนน ไม่ว่าจะคะแนนเดียวหรือ สองสามคะแนนไปได้เลยน่ะครับ

    ReplyDelete
  9. กรณีการรวบเคมี ฟิสิกส์ ชีวะ สอบรวมกันผมว่าตรงนี้มีปัญหามากนะครับ
    ทั้งในแง่การวัดผลให้ตรงกับความเป็นจริง เราไม่อาจจะทราบและคัดเด็กได้จริง ว่าเด็กมีความถนัดด้านใดและมีจุดอ่อนด้านใดน่ะครับ มันไม่สะท้อนความจริงน่ะครับ เด็ที่ถนัดเคมี ชีวะ แต่ไม่ค่อยเก่งฟิสิกส์อาจจะมีความพร้อมเพียงพอที่จะเรียนต่อสายแพทย์ เภสัชได้ เด็กที่เก่งฟิสิกส์ เคมี อาจจะมีความพร้อมพอที่จะต่อคณะวิศวะได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่ถ้าเด็กสองคนนี้ได้คะแนนเท่ากัน เพราะการจับข้อสอบมายุบรวมกันแบบที่ทำอยู่นี้ ก็จะไม่สามารถทราบความถนัดและความเหมาะสมของเด็กได้จริงน่ะครับ ย่อมมีผลกระทบต่อการเรียนในระดับอุดมศึกษาต่อไปด้วยแน่นอนครับ เด็กที่ควรได้สามารถเรียนได้อาจจะไม่ได้ เด็กที่ไม่ควรเขาไปเรียนไม่ถนัดพออาจจะเข้าไปได้ด้วยคะแนนของวิชาที่ไม่เห็นจำเป็นต้องรู้จริงน่ะครับ มันไม่สะท้อนความจริงว่าเด็กคนได้เข้าไปในคณะที่เลือกนั้นๆหรือไม่น่ะครับ

    ในกรณีของข้อสอบนั้นอยากให้มีความรัดกุมมากกว่านี้ ทิศทางค่อนข้างดีนะครับ ที่จะให้เป็นแนวทางคิดวิเคราะห์แต่ จะทำยังไงให้เป้นการคิดวิเคราะห์จริงๆ มิให้ตัวคำถามและตัวเลือกตกไปอยู่ในข่ายของการเดาใจผู้ออกข้อสอบ คือประเด็นข้อเท็จจริงต่างๆต้องชัดเจนรัดกุม มีการระดมความคิด มีการวิเคราะห์ร่วมกันในกลุ่มผู้ออกหลายๆท่านอย่างถี่ถ้วน และเห็นตรงกันแล้ว สมเหตุสมผลไร้ข้อโต้แย้ง ชัดเจนและมีมาตรฐานแล้ว จึงค่อยนำมาวัดผลเด็กน่ะครับ ตรงนี้สำคัญมาก เพราะจากการติดตามในข้อสอบวิชาอื่นๆเช่นวิชาทางวิทยาศาสตร์วิชานึง ก็มีการผิดพลาดในทั้งตัวโจทย์ ในตัวเลือก ในสารพัดรูปแบบ รวมถึงการเฉลยที่ สทศ. เปิดเผยออกมานั้น ก็มีที่ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง โดยไม่จำเป็นต้องถกเถียงทางความคิดแบบวิชาสุขศึกษาเพราะนี่ไม่ใช่เรื่องมุมมองความเห็นแต่เป็นข้อเท็จจริงเป็นความจริงเลยน่ะครับ ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่ควรเกิดขึ้นอย่างยิ่งนะครับ เพระคะแนนจะมไสท้อนความจริงเลยจึงควรต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนแล้วจริงๆ แล้วค่อยนำมาให้เด็กสอบเพื่อวัดผลความรู้เด็กน่ะครับ

    ในกรณีรูปแบบของกระดาษคำตอบและการให้คะแนน เห็นเจตนาที่ดีของ สทศ.นะครับ ว่าอยากจะให้คะแนนสะท้อนความจริงที่สุด แต่ก็อยากจะให้สทศ.พิจารณาในหลายๆปัจจัยประกอบกันด้วยน่ะครับ เช่นในมุมของการคัดแยกเด็กเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษา เป็นเด็กกลุ่มใหญ่ เด็กมีความหลากหลายมาก มีทั้งเด็กที่เก่งสุด เก่งเลิศ เก่ง ค่อนข้างเก่ง กลางๆ เกือบจะเก่ง อ่อน อ่อนมาก และอ่อนสุดๆ มากมายหลายหลาก... ข้อสอบที่ดีในความเห็นผมจึงควรแยกเด็กเหล่านี้ออกจากกันให้ได้อย่างดีที่สุดน่ะครับ หากจะมองว่าเด็กต้องรู้จริงในทุกสาขาวิชา ผมว่าอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการหรือความจำเป็นของคณะที่เด็กจะศึกษาต่อ เช่น วิศวะ หากเค้าพอมีความรู้ทางศิลปะ ดนตรีบ้าง ก็ควรจะมีคะแนนให้ด้วย หากต้องรู้จริงเท่านั้น ข้อสอบนี้ก็จะแยกได้เฉพาะเด็กที่ต้องการจะเรียนดนตรีโดยตรง กับเด็กที่ไม่มีความรู้จริงทางดนตรี ถ้าเป็นเช่นนั้นจะวัดขนาดนั้นก็ไม่ควรให้เด็กที่จะเข้าคณะอื่นๆมาสอบเลยน่ะครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นเด็กอยากเข้าคณะนี้ความรู้ที่ต้องใช้จริงๆจำเป้นจริงๆสู้เพื่อนไม่ได้ มาทุ่มอันนี้ดีกว่าแม้รู้ทั้งรู้ว่าเข้าไปก็ไม่ได้ใช้ตรงนี้ แทนที่เด็กะนำเวลาไปพัฒนาตัวเองให้มีความพร้อมต่อคณะที่จะเลือกจริงๆ เด็กก็อาจจะมาแนวนี้ได้ และต้องเข้าใจเค้าด้วยน่ะครับ ในเมื่อผู้ใหญ่เปิดช่องให้ทำ คือมันอาจไม่ตอบโจทย์ของความต้องการของแต่ละคณะน่ะครับ

    ReplyDelete
  10. ในส่วนของความซับซ้อนของตัวเลือกและการให้คะแนนที่ยากขึ้น เดายากขึ้น(โอกาสแทบจะเป็นศูนย์อยู่แล้ว) ผมยอมรับว่าข้อสอบแบบนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ เพราะในระดับมหาวิทยาลัย อ.หลายท่านที่จำเป็นต้องใช้ข้อสอบ ปรนัยในการวัดผล เนื่องจากจำนวนเด็กที่มากก็มีการใช้รูปแบบของข้อสอบแบบนี้ คือเป็นการซ้อนตัวเลือกเข้าไปในตัวเลือกอีกที คือต้องรู้จริงๆ ในทุกๆตัวเลือกและตัวลวง จึงจะสามารถได้คะแนนในข้อนั้นๆ ซึ่งไม่มีปัญหาเลยน่ะครับ และควรเป็นเช่นนั้นด้วยน่ะครับ ในเมื่อเราได้เลือกเข้าไปเรียนในคณะนั้นๆแล้ว สิ่งที่ควรเป็นคือต้องรู้จริงในสาขานั้นๆ ไม่อาจมีข้อคัดค้านใดๆได้เลย เพราะมหาวิทยาลัยควรต้องผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเท่านั้น ไม่ใช่เกือบจะมีคุณภาพแล้วหยวนๆออกมาได้ด้วย คือจุดประสงค์ต่างกันน่ะครับ ดังนั้นการนำรูปแบบนี้ซึ่งทางมหาวิทยาลัยใช้วัดเด็กเพื่อความรู้จริง มาใช้กับการเรียนต่อแยกคัดคนเข้าในคณะต่างๆ จึงอาจมีปัญหาได้มากครับ คงไม่อาจจะแยกเด็กได้ดี คะแนนไม่อาจจะสะท้อนความสามารถของเด็กทซึ่งมีความถนัดและความสนใจที่แตกต่างและมีความรู้ลดหลั่นกันอยู่ออกจากกันได้อย่างแท้จริง ฝากให้พิจารณาประเด็นนี้หนักๆด้วยน่ะครับ เพราะหากใช้เกณฑ์วัดแบบนี้ต่อในทุกๆวิชาที่สอบ ก็คือเราคาดหวังว่าเด็กต้องรู้จริงในทุกๆวิชา ซึ่งไม่สอดคล้องความจริงที่ว่าเด็กมีความสนใจ ความถนัด และมีเป้าหมายที่ต่างกันได้น่ะครับ เครียดเกินไปครับ เกินความจำเป็นที่เด็กจะต้องเก่งเลิศในทุกสาขาขนาดนั้นน่ะครับ

    อยากให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องหันกลับมาพิจารณาปัญหาต่างๆให้ละเอียดรอบคอบมากขึ้น ควรต้องทบทวน ทิศทาง เป้าหมาย จุดประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง ว่าหลังจากเปลี่ยนแล้ว ผลเป็นยังไงบ้าง แก้ปัญหาเก่าๆได้ไหม หรือมีปัญหาใหม่ๆเพิ่มขึ้น และปัญหาเก่าๆก็ยังอยู่ ในระดับอุดมศึกษาอ.ผู้สอนในมหาวิทยาลัยที่ต้องรับช่วงต่อไปมีปัญหาเช่นไรไหม ปัญหาอะไรบ้าง ผมเคยฟังอ.ท่านนึงซึ่งสอนนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยลาดกระบัง ท่านกล่าวว่ามีปัญหาจริง และได้เคยเสนอแล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบรับในทางปรับปรุงแก้ไข อยากให้ทบทวนใหม่ในหลายๆเรื่องครับ เอาข้อเท็จจริงมาดู ผลกระทบจริงๆมาดู ดีกว่าจะนำแนวคิดหรือปรัชญาล้วนๆ มาถกเถียงกันเพราะมันจะไม่ตอบโจทย์ของปัญหาและไม่มีข้อยุติอันเป็นทางออกของปัญหาที่เกิดครับ เพราะทุกความเห็นก้ล้วนแต่มีเหตุผลมาสนับสนุนได้ทั้งสิ้น แต่ปัญหาคือความจริงเป็นเช่นไรแล้ว ตรงนี้สำคัญกว่าน่ะครับ

    ขอบคุณท่านเจ้าของ blog มากครับ ที่เปิดช่องทางให้ร่วมแสดงความเห็น ให้ร่วมด้วยช่วยกันคิด ช่วยกันมองปัญหา อย่างเป็นเรื่องเป็นราว _/|\_

    ปล.ใครสนใจดูรายการที่ผมอ้างถึงย้อนหลังเข้าไปดูได้ที่ http://www.tvthai.org/ChangeThailand/
    เลือกตอนทางออกแอดมิชชั่นครับ มีสองตอนด้วยกันครับ

    ReplyDelete
  11. มีกด like ได้แบบ facebook จะกดให้ Kru.Pap เลยครับ

    ReplyDelete
  12. มีน้องๆท้วงติงมาหาผมว่า เดี๋ยวนี้วิศวะไม่สอบ pat2 แล้ว ต้องขอโทษด้วยนะครับ คือผมแม้จะพยายามตามเรื่อยๆ แต่ในรายละเอียดก็เปลี่ยนบ่อยจริงๆ จนผมเองก็ตามไม่ทันครับ ฝากเรื่องนี้กับผู้ใหย่ด้วยนะครับ ระบบควรเสถียรกว่าที่เป็นอยู่นี้ครับ ..แต่ยังไง ก็ต้องสอบ โอเน็ทอยู่ดี... จะเป็นไปได้ไหมที่ o-net จะไม่นำมาคิดเป็นคะแนนเด็ก แต่นำไปใช้ประเมินโรงเรียนอย่างแท้จริงตามที่สทศ.บอก โดยมีขั้นตอนแบบอื่นๆแทนน่ะครับ เช่น ให้มีผลต่อทางโรงเรียนแทน อ.ผู้สอนแทน น่ะครับ น่าจะทำให้แก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้นด้วยน่ะครับ แล้วมีการนำคะแนน o-net ไปก่อให้เกิดความขับเคลื่อนพัฒนายังไงบ้างครับ ยังไม่เคยทราบข้อมูลทางนี้เลย ไม่งั้นเดี่ยวจะกลายเป็นประเมินไปเช่นนั้นเอง แต่ไม่มีผลและการแก้ไขอะไรเป็นรูปธรรมน่ะครับ

    ReplyDelete
  13. ขอบคุณคุณ Tee มากนะครับ เป็นกำลังใจให้น้องๆนะครับ หลักๆที่นึกออกและฝากไว้ก็คงมีเท่านี้น่ะครับ ดีใจที่มีพื้นที่ให้แสดงความเห็น เพราะส่วนตัวก็อัดอั้นและมีความรู้สึกไม่ดีต่อระบบการศึกษาไทยหลังๆนี้มากพอสมควรน่ะครับ รู้สึกเหมือนได้ปลดปล่อย ขอบคุณที่ให้พื้นที่แสดงความเห็นนะครับ ^-^

    ReplyDelete
  14. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
  15. ขออีกสักคห.นะครับพอดีลองกลับไปค้นๆในรายละเอียดแล้วจึง พบว่า เกณฑ์คณะวิศวะแล้วแต่มหาวิทยาลัยน่ะครับ ส่วนใหญ่สอบตรงจะไม่ใช้ Pat2 แต่ถ้าส่วนกลางจะใช้ Pat2 ด้วย อะไรประมาณนี้น่ะครับ รายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างเยอะน่ะครับ และก็ปรับเปลี่ยนบ่อย อยากฝากให้สทศ.ระมัดระวังจุดนี้ด้วยนะครับ หากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆอีก อยากให้พิจารณาให้ถี่ถ้วนรอบด้านก่อนน่ะครับ จะได้ไม่ต้องปรับเปลี่ยนบ่อยครั้ง และจะได้ไม่เป็นการสร้างความสับสนให้กับเด็ก เด็กจะได้เตรียมความพร้อมได้ถูกต้องตรงตามที่จะถูกวัดด้วยน่ะครับ

    ReplyDelete
  16. ย้ายความเห็นน้อง Micky มาไว้ที่นี่ครับ

    ขอแสดงความชื่นชมกับ น้องๆ เพื่อนๆ และพี่ๆ ที่ได้ริเริ่ม การเขียนจดหมายเปิดผนึกเกี่ยวกับการ Admission ครับ แต่ผมคิดว่าเนื้อความในจดหมายนี้ ยังไม่สมบูรณ์เท่าไหร่นัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จดหมาย มีลักษณะให้ข้อมูลเฉพาะ 'ปัญหาที่มีในระบบ Admission' แต่เพียงเท่านั้น พวกเรายังไม่ได้เสนอทางเลือก หรือวิธีแก้ปัญหา ให้กับผู้ที่จะอ่านจดหมายหรือผู้ที่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบาย ใดๆเลย

    เท่าที่ผมสังเกต นอกจากที่ปัญหาที่ได้กล่าวมา (ซึ่งผมเชื่อว่าหลายๆคน ทั้งผู้ปกครอง น้องๆ ที่เรียนอยู่ ก็คงทราบดีกันอยู่แล้ว) สิ่งที่จดหมายเสนอให้ผู้มีอำนาจ หน้าที่รับผิดชอบทำคือ

    "พวกเราจึงอยากเรียนขอให้ทาง สทศ.ร่วมมือกับคณาจารย์จากแต่ละโรงเรียน และ มหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงกลุ่มนักเรียนผู้ได้รับผลกระทบเพื่อดำเนินการหามาตรการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่าย และหามาตรการป้องกันปัญหาในอนาคตเพื่อการพัฒนาอันยั่งยืนของระบบการศึกษาไทยต่อไป"

    แล้วถ้าสิ่งที่เค้าทำปัจจุบันนั้น เป็นสิ่งที่ เค้าได้ปรึกษาหารือจากอาจารย์จากทั่วประเทศแล้วหละ? ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า การกล่าวถึงปํญหาเป็นเรื่องง่าย ใครๆก็สามารถทำได้ (การเมืองไทย มีแต่ทะเลาะกัน นักการเมืองโกงกิน, ปัญหา ซื้อสิทธิ์ ขายเสียง, เด็กนักเรียนช่างกลตีกัน, สอบ Ent ไม่ fair สำหรับเด็กในภูมิภาค และอื่นๆ) ใครๆก็ทำได้ครับ สิ่งที่จะพิสูจน์ว่า คนๆนั้น หรือกลุ่มคนเหล่านั้น อยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรจริงๆ ขึ้นอยู่กับว่า เราเค้นสมองของเราเพื่อคิดถึงวิธีการแก้ปัญหานี้มากน้อยขนาดไหน ช่วยกันคิดและเสนอวิธีเหล่านั้นให้ผู้ใหญ่เค้าไปพิจารณาว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ เสนอไปและเสนอวิธีไปให้มาก ไม่ใช่บอกแค่ว่าตอนนี้มีปัญหาอะไรบ้าง (ซึ่งผมก็คิดว่าพวกเค้าก็น่าจะรู้อยู่แล้ว จากเสียงของผู้ปกครองและข่าวต่างๆ) ผมเชื่อว่าผู้ใหญ่แล้วนั้น คิดอะไรไม่ค่อยออก และไม่เห็นภาพชัดเจนเท่ากับที่พวกเราเคยเห็น และผมก็เชื่อว่าเค้าก็สนใจความคิดและแนวทางการแก้ปัญหา (ที่เราจะคิดขึ้นมา) เช่นกัน ผมเชื่อว่าคนรุ่นใหม่อย่างพวกเรา คนที่เคยผ่านประสบการณ์การ entrance เหล่านี้มาแล้ว รู้ว่าสิ่งไหนดีควรเก็บไว้ และสิ่งไหนควรจะปรับครับ

    อยากจะฝาก quote สอง quotes นี้ไว้ให้กับเพื่อน และน้องๆรุ่นใหม่ที่จะมาเป็นกำลังสำคัญของประเทศครับ

    "Be part of the solution, not the problem"
    จงเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา มิใช่เป็นปัญหาเสียเอง
    &
    "Be the change you want to see in the world"
    --Mahatma Gandhi

    มาช่วยกันเสนอวิธีการแก้ปัญหานี้ และให้ความคิดเห็นว่าการ Entrace หรือคัดนักเรียนเข้าศึกษาในระบบอุดมศึกษานั้น ควรจะมีลักษณะใด กันดีหรือปล่าวครับ?

    Kavin
    TS45, Stanford University
    Lecturer, Chulalongkorn Business School

    ReplyDelete
  17. คิดว่า จริงๆแล้ว ถ้าข้อสอบกลางเป็นข้อสอบที่ได้คุณภาพ มาตรฐานและวัดความสามารถของเด็กได้โดยตรง คณะหรือสถาบันต่างๆ อาจจะมีการรับตรงน้อยลง แต่เข้าใจว่าตลอดระยะเวลา 3-5 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงข้อสอบส่วนกลางบ่อยครั้งมาก และมาตรฐานการคิดคะแนนก็แตกต่างกันไป มีการใช้ GPA และ Percentile มาคิด ทำให้เกิดคำถามเรื่องมาตรฐานการสอนของแต่ละโรงเรียนอีก ทางคณะ จึงมีคำถามเกี่ยวกับความรู้ความสามารถที่แท้จริงของเด็ก ในการรับเข้าเรียน

    จริงๆแล้ว หากทางส่วนกลางออกข้อสอบที่มีความเป็นวิชาการ เป็นมาตรฐาน สถายันการศึกษาและเด็กเองก็จะมีความง่ายในการเตรียมความพร้อม โดยไม่ทำให้เด็กเกิดความเครียดตลอดเวลา และเปิดโอกาสในการเพิ่มพูนทักษะชีวิตในกิจกรรมด้านอื่นๆ และมีเวลามากขึ้น เพื่อเรียนรู้หลายๆเรื่อง ตามความสนใจของตัวเอง

    สำหรับการออกข้อสอบเพื่อวัดทักษะชีวิต หรือวัด logic ไม่ควรจะเป็นสิ่งที่ตายตัวแบบไม่มีเหตุผล หากทำข้อสอบแบบสามตัวเลือก ต้องเปิดโอกาสให้มีการใช้เหตุผลในการเลือกแต่ละข้อด้วย และสามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นตรรกะที่ยอมรับได้ เป็นความรู้ที่เป็น "กฎ" ไม่ใช่ "ความคิดเห็น" เนื่องจาก ในการตัดสินใจเลือกแต่ละครั้ง การมีอุปนิสัยและฐานการคิดที่แตกต่างกัน ทำให้สมองตัดสินใจในเหตุการณ์นั้นๆไม่เหมือนกัน จึงไม่อาจวัดได้ว่าฐานความคิดของใครถูกหรือผิดได้อย่างเด่นชัด ดังนั้น ในการวัดคำตอบสามตัวเลือก ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน หากเป็นข้อสอบแบบที่ปรากฎอยู่ในปีนี้ เช่น เลือก ดอกไม้อะไร ผ้าปูโต๊ะสีอะไร ทำให้ไม่สามารถวัดความสามารถ หรือความคิดเชิงเหตุผลได้จริง

    การพิจารณาวิธีให้คะแนน ข้อสอบวัดการใช้เหตุผล ในอนาคต อาจพิจารณาว่า ถ้าตอบ 6 ใน 10 ตัวเลือกนี้ เข้าข่ายถูก หรือ อาจทำ choice เพิ่ม ในด้านการใช้เหตุผล เช่น นาย ก. เลือก ... และ..และ... เพราะ... นาย ข. เลือก... และ... เพราะ... ให้ดูว่าเหตุผลใคร สมเหตุสมผลกว่ากัน

    แต่จริงๆแล้ว เนื้อหาในการออกข้อสอบปีนี้ วัดความสามารถไม่ได้จริงๆ และทำไปก็ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญญาเพิ่มขึ้น หรือ ติวไปก็ไม่ได้ทำให้สามารถดำรงชีวิตได้ดีขึ้น จึงเสนอว่า เนื้อหาในการออกสอบ ควรเป็นการเพิ่มพูนทักษะชีวิต อาจจะเป็นความรู้สากลทั่วไป ที่ใช้กันจริงๆ เช่น การดูแผนที่ การใช้ถนน เป็นต้น น่าจะมีประโยชน์กว่า

    ReplyDelete
  18. เห็นแต่ละอย่างที่ปรับเปลี่ยนมา มีแนวโน้มจะทำให้ถอยหลังลงคลอง
    สอบระบบเก่า ครั้งเดืยวช่วงหน้าร้อนเหมือนสมัยก่อน
    มันจะเป็นจะตายกันใช่ไหมครับ

    ReplyDelete
  19. ผมเห็นด้วยในหลักการที่จะออกข้อสอบให้เด็กคิดวิเคราะห์มาขึ้น แต่การออกข้อสอบคิดวิเคราะห์แบบที่น้องๆเจอในข้อสอบ o-net ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ ดูเหมือนเป็นข้อสอบที่ต้องเดาใจคนออกข้อสอบ ถ้าคุณเดาไม่ถูกคุณก็จะไม่ได้คะแนน ข้อสอบหลายๆข้อสามารถตอบได้ในหลายรูปแบบและหลากหลายเหตุผล ถ้าน้องเขามีเหตุผลในการตอบคำถามที่ดี มีการวิเคราะห์ที่ถูกต้องตามตรรกะ แต่ไม่ตรงใจคนออกข้อสอบ น้องเขาต้องเสียคะแนนส่วนนั้นไป มันถูกต้องแล้วหรือ

    สำหรับการออกข้อสอบที่ป้องกันการเดาสุ่มนั้น ผมเห็นด้วย แต่ไม่เห็นด้วยกับรูปแบบในการสอบครั้งนี้ที่อาจจะสร้างความสับสน อีกทั้งมีคำถามที่สามารถตอบได้หลายวิธีขึ้นกับการให้เหตุผล สำหรับการแก้ปัญหาการเดาสุ่มนั้น ผมขอแนะนำวิธีที่ใช้ใน GRE exam (subject test) สำหรับ GRE subject test เป็นข้อสอบห้าตัวเลือกที่มีคำตอบชัดเจนแน่นอนไม่กำกวมและหลักการการให้คะแนนเป็นดังนี้

    Your score will be determined by subtracting
    one-fourth the number of incorrect answers
    from the number of correct answers.

    หมายความว่าคะแนนของคุณจะได้จากจำนวนข้อที่ถูกลบด้วย 1/4*(จำนวนข้อที่ผิด) นั่นหมายความว่าถ้าคุณไม่แน่ใจในการทำข้อสอบและมั่วคุณอาจจะได้คะแนนติดลบ ผมว่าวิธีนี้ก็สามารถป้องกันการมั่วข้อสอบได้ ไม่เห็นจำเป็นต้องออกข้อสอบตัวเลือกเป็นสิบๆเลยครับ

    ผมสงสารเด็กๆรุ่นสองสามปีนี้มากเพราะต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบข้อสอบ รูปแบบของการสอบ อยากให้ผู้ใหญ่เห็นใจเด็กบ้างครับ บอกตามตรงครับผมก็อยู่ในวงการการศึกษาแต่ตอนนี้ผมก็ตามไม่ทันว่าระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นยังไง ไม่ใช่ไม่ติดตามนะครับ แต่ติดตามไม่ทัน เปลี่ยนกันบ่อยมาก ผมเข้าใจครับว่าอยากให้ระบบเป็นระบบที่ดีที่สุด แต่ระบบที่ดีที่สุดมันจะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน อย่าเอาอนาคตของเด็กไปผูกไว้กับการทดลองระบบใหม่ๆเลยครับ ผมอยากใ้ห้ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นระบบที่ชัดเจน, มีมาตรฐาน, เที่ยงตรง, สามารถใช้วัดผลทางการศึกษาได้จริงและมีความเท่าเทียมกันสำหรับนักเรียนทุกคนครับ มันอาจจะยากนะครับ แต่ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกันทำงานโดยเห็นแก่เด็กและประเทศชาติเป็นสำคัญ ผมว่่ามันก็คงไม่ยากเกินไป

    อันนี้เป็นเพียงแค่ความคิดเห็นของผมนะครับ เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่ว่ากันครับ

    ReplyDelete
  20. ขอร่วมออกความคิดเห็นด้วยค่ะ

    คิดว่ามีประเด็นหนึ่งที่เป็นปัญหาหลักเลยที่อยากนำเสนอค่ะ หากจะพูดถึงระบบการศึกษาแล้ว อันที่จริง การวัดผลเป็นสิ่งที่อยู่ปลายทางนะคะ สิ่งที่อยู่ต้นทางคือเรื่องของมาตรฐานการศึกษาไทย ความพร้อมของโรงเรียนและอาจารย์ในโรงเรียนมากกว่าค่ะ

    ปัจจุบันนี้ ลักษณะการสอบของเด็กนั้นไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนการสอนของโรงเรียนเลย จะเห็นได้ชัดว่าโรงเรียนสอนไปทาง ข้อสอบก็ออกมาอีกทางหนึ่ง ถึงจะบอกว่าข้อสอบพยายามทำให้เด็กได้รู้จักการคิด วิเคราะห์ แต่ลักษณะข้อสอบนั้นเป็นการคิดวิเคราะห์ที่สามารถตีความได้หลากหลาย เปิดกว้างเกินไปจนเด็กไม่รู้จะนำตรรกกะข้อใดมาจับ ในขณะที่ทางโรงเรียนเอง การวัดผลทดสอบเด็กในโรงเรียนนั้น ลักษณะการสอนและการสอบก็เป็นในอีกแบบหนึ่ง คือเป็นแบบท่องจำหนังสือและนำมาสอบ ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดว่าลักษณะการสอน/สอบ ในโรงเรียน กับลักษณะการวัดผลเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นข้อสอบกลางนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงนำมาสู่ข้อสงสัยว่า ข้อสอบลักษณะนี้ เหมาะสมกับเด็กไทยในปัจจุบันนี้แล้วหรือ

    การพัฒนาการศึกษาไทยนั้นไม่ใช่เรื่องของการสอบ แต่เป็นเรื่องการเรียนรู้ในโรงเรียน แต่มาวันนี้เราไปโฟกัสกันผิดจุดหรือเปล่า ทำให้แทนที่ปัญหาจะถูกแก้ไข กลับยิ่งเป็นการเพิ่มปัญหาเข้าไปอีก

    เราบอกว่า ไม่อยากให้เด็กจมกับสถานที่เรียนพิเศษจนไม่ใส่ใจการเรียนที่โรงเรียน ทำไมเราไม่ไปปรับปรุงการเรียนการสอนในโรงเรียน ปรับปรุง faciility ต่างๆ ในโรงเรียน ห้องสมุดเอย ห้องแลปเอย ทั้งหลายทั้งปวงให้ทุกโรงเรียนในประเทศไทยมีมาตรฐานเดียวกัน ไหนจะเรื่องอาชีพครูอีก ทำไมไม่ส่งเสริมอาชีพนี้ ปล่อยให้มีค่านิยมผิดๆ อย่างเอ็นท์อะไรไม่ติดให้ไปเป็นครู แบบนี้อยู่ได้ ทำไมไม่เพิ่มเงินเดือนให้ครู ให้ครูสามารถอยู่ในสังคม หาเลี้ยงครอบครัวได้โดยไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ทำไมไม่ส่งเสริมให้เด็กเก่งๆ หันมาเป็นครูกัน เพื่อที่บุคลากรเก่งๆ เหล่านี้ จะได้สร้างบุคลากรเก่งๆ ในอนาคตขึ้นมาอีก

    เราเลยสงสัยค่ะ ว่ากันพัฒนาการศึกษานั้น การสอบเข้ามหาวิทยาลัยมันถือเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของระบบการศึกษาขนาดนั้นเลยเหรอคะ จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงก็ทำแค่เรื่องสอบนี่แหละ ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด รวดเร็วเป็นจรวดจนโรงเรียนทั่วประเทศตามกันไม่ทัน ผลกรรมเลยตกอยู่กับเด็ก

    เราก็อยากจะฝากเท่านี้ล่ะค่ะ

    ReplyDelete
  21. -ข้อสอบเหมือนต้องการจะวัด แยกแค่เด็กเก่งกับเด็กโง่

    ซึ่งในโลกของความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ค่ะ

    ถ้างั้นเด็กปานกลางนี่ คุณจะเอาพวกเราไปไว้ส่วนไหนคะ ?


    -ข้อสอบการงาน แน่นอนว่าออกเกินมาก ผิดหลักสูตร อันนี้ผิดชัวร์


    -ข้อสอบไม่ได้มาตรฐาน ใช้คะแนนเหมือนกัน แต่ข้อสอบแต่ล่ะครั้งไม่เหมือนกันเลยซักครั้ง

    แบบนี้จะเอาความาตรฐานจากไหน ?


    - ปกติเปลี่ยนข้อสอบต้องบอกล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ปีให้เด็กเตรียมตัว แล้วนี่อะไร ??

    เปลี่ยนข้อสอบโอเนต รู้ล่วงหน้ายังไม่ถึงเทอมเลย ไม่ยุติธรรมมากๆ

    ReplyDelete
  22. ผู้ใหญ่ควรจะช่วยๆกันปรับปรุงและทราบข้อจำกัดของเด็ก มีการประสานงานพัฒนาไปร่วมๆกัน มิใช่โทษกันไปมาว่าเราทำถูกแล้ว ผู้ใหญ่อีกฝ่ายต่างหากที่ทำไม่ถูกเอง ซึ่งรวมๆแล้วก็ไม่ใช่ความผิดของเด็กอยุ่ดี แต่ผลร้ายกลับมาตกอยู่ที่เด็ก มันไม่สมควรครับ จึงควรกลับไปแก้ปัญหาที่ต้นทางที่ต้นเหตุแบบที่หลายๆท่านกล่าวมาแล้วปัญหาต่างๆจะหายไปเองและทุกอย่างจะค่อยๆพัฒนาขึ้นด้วยครับ การแก้เฉพะการวัดผล แต่ไม่แก้การเรียนการสอน แถมยังเป็นคนละฝ่ายที่ไม่ทำงานใหสัมพันธ์กัน ไม่ก่อให้เกิดผลดีไม่ว่าด้านใดๆครับ หากการศึกษาในระบบดพอแล้วก็ไม่ต้องกังวลปัญหาเรื่องกวดวิชาอีก ก็ได้รับพอแล้วก็ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนหาเพิ่ม(หากใครจะหาเพิ่มก็ไม่ใช่เพื่ออยู่รอด แต่เพื่อเพิ่มเติม)ซึ่งปัญหานี้ดูจะเป็นปัญหาที่กวนใจทาง สทศ.อย่างเห็นได้ชัดในหลายๆโอกาสที่ได้รับฟัง คห. จาก สทศ.น่ะครับ หากจะแก้ด้วยวิธีอื่นหรือวิธีที่ทำอยู่นี้ ผลเสียจะตกอยู่กับเด็กไม่เฉพาะเด็กที่กวดวิชาแต่รวมถึงเด็กที่ไม่ได้กวดวิชาด้วยครับ

    ReplyDelete
  23. อยากเห็นการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นไปแล้วที่เป็นรูปธรรมและทำได้บ้างอ่ะครับ ที่อ่านมาผมเห็นแต่เสนอแนวทางป้องกันครั้งหน้าอ่านสนุกดีครับ ไว้พอมีเยอะ ๆ แล้วผมอาจจะรวมทำโพลนะครับ

    นั่นคือ
    1) ข้อสอบผ้าปูโต๊ะที่สอบไปแล้วควรทำอย่างไรให้ยุติธรรมให้ฟรี ไม่ใช้เลยทั้งวิชามีข้อดีข้อเสียทั้งคู่ อยากให้นึกถึงคนที่เค้าพยายามเตรียมตัวมาสอบวิชานี้ด้วยนะครับ
    2) หรือคนที่ไม่มีคะแนนสอบวิชาพวกนี้ล่ะครับ แล้วเด็กที่จะซิ่วปีนี้แต่ไม่ได้สอบ O-net และปีที่แล้วท้องเสียวันสอบ O-net และเด็ก ๆ สอบ O-net กันไปแล้วไม่มีให้สอบอีกแล้ว จะทำอย่างไรครับ
    3) หรือการเทียบคะแนนระหว่างปีที่เปลี่ยนรูปแบบ ที่ใช้คะแนนดิบเนื่องจากสทศบอกว่าไม่มีความพร้อมใช้คะแนนมาตรฐานจะทำอย่างไรครับ

    อยากให้ลองเสนอทางแก้ไขที่คิดว่า สทศจะทำได้ด้วยครับ (ผมคิดไว้ในใจหมดแล้วแล้วเห็นข้อดีข้อเสียของสิ่งที่ผมคิดว่าดีที่สุด แต่อยากฟังคนอื่นก่อนอ่ะครับ)

    โพสกันมาเยอะ ๆ นะครับ subscribe ด้วยก็ดีนะครับ :)

    ReplyDelete
  24. ศุภอรรถ ตปนียากรMarch 3, 2010 at 6:03 AM

    ขอขอบพระคุณท่านผู้ริเริ่มสักครั้ง

    ผมนั่งอ่านจดหมายถึงคุณอุทมพรด้วยความดีใจ ดีใจที่พวกเรา
    เยาวชนยังมีความห่วงใยในบ้านเมืองของเรา
    ผมเคยคิดว่า..ในยามที่บ้านเมืองอยู่ในความแตกแยก
    ไม่มีครั้งไหนๆตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
    ที่นักศึกษาจะหลงลืมภาระหน้าที่ที่มีให้กับประเทศชาติ
    ในฐานะคนไทยเจ้าของประเทศคนหนึ่ง ได้เท่ากับยุคของเรา
    ยุคที่เรามองผู้คนผ่านรูปที่สวยงามเกินจริงใน Facebook
    และติดตามทุกข์สุขของเพื่อนด้วย Blackberry messenger

    จะปิดสนามบิน จะลอบสังหาร จะล้มประชุมอาเซียน
    องการนิสิษนักศึกษาก็ยังออกค่ายปั้นดินให้เป็นห้องสมุดที่ไม่ได้ใช้อยู่เหมือนเดิม

    ผมอ่านจดหมายสั้นๆ และมองเห็นความพยายามของผู้ริเริ่ม
    แม้จะไม่ได้เห็นด้วยทุกประเด็น แต่ก็ทำให้ทราบว่า
    "กรุงศรีอยุธยายังไม่สิ้นคนดี"
    ยิ่งอ่านความคิดของท่านที่เข้ามาคอมเม้นทั้งหลายผมก็เริ่มมีความหวัง
    เพราะทุกความเห็นและเวลาที่สละมาให้ความเห็น ก็ด้วยความห่วงใยที่มีแก่บ้านเมือง
    อ่านชื่อที่ลง เกือบทุกท่านล้วนไม่มีผลได้เสียจากการเคลื่อนไหวทั้งนั้น
    "ผ่านระบบสอบเข้ากันมาหมดแล้ว"

    สนับสนุน คนทำดีควรสนับสนุน คนทำเพื่อชาติควรสนับสนุน
    แต่ขอสนับสนุนด้วยสิ่งเสนอ อาจไม่ชอบ ไม่ถูกใจ
    เพราะจะให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมา ผมเชื่ิอว่าการระดม
    ความเห็นที่ตรงไปตรงมาจากคนแยะๆนั่นแหละ
    คือทางออกแบบประชาธิปไตย

    มิใช่หรือ?

    ReplyDelete
  25. ทางแก้อันดันแรกที่สทศ.ผู้มีหน้าที่ออกข้อสอบควรทำ คือ ประสานงานกันกับผู้ใหญ่ที่ดูแลส่วนของการเรียนการสอน และออกข้อสอบให้สอดคล้องกับความเป็นจริงนอกเหนือจากที่จะต้องออกตามหลักสูตรแล้ว ยังต้องตรงตามความเป็นจริงที่มีการเรียนการสอนด้วย หาจุดร่วมที่เหมาะสม มิใช่ออกไปแล้วสรุปไม่มีเรียนเกิดความเหลื่อมล้ำแล้วยกคะแนนให้ฟรีไปเช่นนี้เรื่อยๆ แบบนี้ระหว่างรุ่นใหม่กะรุ่นเก่าก็จะมีการได้เปรียบเสียเปรียบไม่รู้จบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ต้องประสานงานกันครับ ไม่ใช่ความผิดของเด็ก เด็กจึงไม่ควรต้องได้รับผลร้ายในกรณีที่ผุ้ใหญ่ไม่ว่าฝ่ายไหนจะเป้นผู้ผิดก็ตาม ในส่วนของกระดาษคำตอบ ไม่ควรที่จะตามสามข้อติดจึงจะได้คะแนนอะไรแบบนั้น เพราะมันคัดเด็กได้ไม่ดี แยกได้แต่รู้จริง พวกรู้บ้าง กะไม่รู้เลย ก็กองอยู่ที่ศูนย์เหมือนกัน ไม่ควรนำมาใช้กะการสอบระดับนี้ตามที่ได้เคยกล่าวไป ...การแก้ไข เฉพาะหน้าที่ควรทำก่อน คือตัดวิชาที่มีปัญหาออกไม่นำมาคิด เพราะมันมีปัญหา ทั้งความกำกวมและเด็กพบว่าเกินหลักสูตรอีกด้วย ในวิชาอื่นๆที่ยังนำมาใช้ถ้าเป็นไปได้ควรมีการถ่วงน้ำหนัก ให้มีค่ามาตรฐานที่สามารถปรับเทียบกันได้ในระหว่างปีในกรณีของ o-net....นอกจาการแก้ไขเฉพาะหน้า ก็มีอีกหลายประเด็นที่ควรปรับแก้ใหม่ พิจารณาทิศทางและปัญหาใหม่ทั้งหมด ตามที่ผมและหลายๆท่านได้แสดงความเห็นไปแล้วข้างต้นครับ

    ReplyDelete
  26. เคยมีครั้งนึง เมื่อปี 42 ปีแรกที่มีการนำเอา GPA/PR มาคำนวนเป็นคะแนนในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่มีปัญหา สรุปว่า ยกเลิกส่วนนั้น เหลือเฉพาะคะแนนจากการสอบเพียงอย่างเดียว

    ถ้าหากว่า O-NET ปีนี้มีปัญหามาก การนำไปใช้ในการคัดเลือกนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย ก็คงไม่เหมาะสม การ"ยกเลิก" ก็คงเป็นทางเลือกนึงที่น่าสนใจ

    สำหรับข้อดีข้อเสียแล้ว ผู้ที่ได้คะแนน O-NET เยอะก็คงไม่ชอบอย่างแน่นอน แต่ถ้า O-NET ครั้งนี้ไม่สามารถวัดผลสำเร็จทางการศึกษาได้ตามจุดประสงค์ที่แท้จริงของมันแล้ว การนำมาใช้นอกจากจะก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมในด้านการคัดเลือกแล้ว ยังจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกมากมาย

    ในอนาคต การแก้ไขปัญหา จำเป็นจะต้องทำวิจัยเพื่อวิเคราะห์นโยบายและวิธีการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือในความยุติธรรมและโปร่งใส โดยที่จะต้องสามารถแก้ปัญหาต่างๆที่เคยถูกยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการแก้ไขระบบการคัดเลือกให้ได้ มิเช่นนั้นก็จะถูกหยิบขึ้นมาเป็นข้ออ้างใหม่อีก

    โดยที่การกำหนดนโยบายและวิธีการ จำเป็นจะต้องระดมความคิดจากทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และใช้สถิติที่เชื่อถือได้มาสนับสนุน มิใช่ใช้ความเห็นจากผู้มีอำนาจมาเป็นตัวตัดสินเหมือนที่ผ่านๆมา

    ReplyDelete
  27. ระบบมันซับซ้อนไปแล้ว ทำให้งงกันไปหมด ทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ควรกลับไปใช้ Entrance แบบเดิม เพราะถึงไงก็ไม่สามารถกำจัดการเรียนพิเศษไปได้หรอก ตราบใดที่มหาลัยรัฐดัง ๆ ยังรับนักศึกษาได้น้อยกว่าคนที่อยากจะเรียน ควรหันไปคิดพัฒนาการเรียนการสอนในทุกระดับ จนถึงมหาลัยรัฐต่าง ๆ ให้มีความให้ลเคียงกัน การปรับข้อสอบเป็นแค่ปลายเหตุเท่านั้น

    ReplyDelete
  28. เห็นด้วยกับความคิดที่ให้กลับไปใช้ระบบ entrance แบบเดิม
    เพราะโดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นระบบที่ดีทีสุด และพวกที่จบมาจากระบบ entrance ก็เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ เลยไม่เข้าใจว่าจะเปลี่ยนไปทำไม
    ส่วนเหตุผลว่าไม่อยากให้เด็กเรียนพิเศษ คิดว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและคิดว่าเด็กไปเรียนพิเศษดีกว่าให้เด็กไปมั่วสุมอย่างอื่น และโดยส่วนตัว (entrance ปี 2531) ก็ไม่ได้เรียนพิเศษก็ ent ติดได้ (คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา)

    ReplyDelete
  29. จริงๆเกรดก็ยังนำมาใช้อยู่นะครับ เค้ายกเลิก GPA แต่ GPAX ยังใช้อยู่น่ะครับ GPAX คือเกรดเฉลี่ยรวมทุกวิชาค่ะ GPA คือเกรดเฉลี่ยวิชาหลัก 5 วิชาค่ะ (หนักกว่าเดิมอีก)ความเหลื่อมล้ำตรงนี้มีมาตั้งแต่ช่วงปี 42 เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กัน แต่ทุกวันนี้ก้ยังมีอยู่ครับ หลายๆโรงเรียนเด็กเกรดเฟ้อมากครับ โรงเรียนดังๆในจังหวัดผม ห้องคิงนี่ก้คือจะ 4.00 กันทั้งห้องเลยน่ะครับ ...จุดที่ทำให้เค้าใช้อยู่ก้คือเพื่อจูงใจ(บังคับใจ)ให้เด็กตั้งใจเรียนในห้องน่ะครับ..ก็แบบที่หลายท่านกล่าวไป เค้าน่าจะไปแก้ที่ต้นเหตุของปัญหามากกว่าวิธีการ force ไม่ใช่วิธีที่ดีน่ะครับ

    ReplyDelete
  30. จริงที่ระบบเอ็นแต่ก่อนไม่กววดชาก็เอ็นติดได้ มีมากมายครับ ยิ่งเค้าทำให้เด็กเครียดและต้องรีบมากเท่ไหร่ เด็กก็ยิ่งวิ่งกวดวิชากันมากขึ้น หากไม่ force เด็กมากด้วยหลายๆอย่าง ผมว่าเด็กจะจัดสรรเวลาการเรียนการทบทวนได้ดีกว่านี้ และมากมายก็มีศักยภาพพอที่จะพึ่งตัวเองได้ไม่จำเป้นต้องพึ่งใครครับ เห้นด้วยครับ

    ReplyDelete
  31. เพิ่มประเด็นที่การสอบ ONET ในปีนี้ ใช้หลักสูตรแกนกลางปี 2551 ออกข้อสอบ แต่ว่านักเรียน ม.6 ในปีนี้ทุกคนยังเรียนในหลักสูตรปี 2544 ด้วยได้ไหมครับ

    ReplyDelete
  32. ขอเพิ่มเติมนิดนึง สำหรับข้อ 1.1 ค่ะ

    ----------------

    1.1) ข้อสอบบางข้อในบางรายวิชา เช่น สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ไม่มีหลักเกณฑ์การหาคำตอบที่ถูกที่สุดอย่างแน่ชัด และคำตอบที่ถูกมีความเป็นไปได้หลากหลายขึ้นกับประสบการณ์และทัศนคติของผู้ตอบ เช่น สีใดใช้แทนความรัก หรือการให้นักเรียนเลือกสีผ้าปูโต๊ะให้แม่ซึ่งเกิดวันศุกร์ เป็นต้น ประกอบกับข้อสอบที่เป็นแบบปรนัย ทำให้ผู้ตอบไม่สามารถให้เหตุผลประกอบคำตอบได้ จึงอาจทำให้เสียโอกาสในการได้คะแนนในข้อนั้นๆ
    -----------------

    เมื่อกี้ได้ฟังอาจารย์คณะคุรุศาสตร์จุฬา จากรายการตอบโจทย์ค่ะ อาจารย์ได้เล่าให้ฟังถึงหลักการการตอบคำถามของชุดคำถามเหล่านี้ ตามลิงค์นี้ค่ะ

    http://www.youtube.com/watch?v=VuGN8mHuq-0
    http://www.youtube.com/watch?v=XA-ei1UABoI
    http://www.youtube.com/watch?v=ROX9oqoHYuw

    ดังนั้น เราคิดว่าผู้ออกข้อสอบอาจมีหลักการออกข้อสอบใน ตรรกะ ที่หากมีการอธิบายหลักการ ก็ทำให้สามารถยอมรับข้อสอบประเภทนี้ได้ ดังนั้น เราเริ่มมองว่าปัญหาของการออกโจทย์แบบนี้ คือความไม่เท่าเทียมกันของระบบการเรียนรู้ เทคนิคการทำข้อสอบ และเทคนิคการสอน ของแต่ละโรงเรียน มากกว่าเรื่องของ ทัศนคติและประสบการณ์ของผู้สอบค่ะ เนื่องจากตามในรายการที่อาจารย์ออกมาอธิบาย อาจารย์อธิบายชัดเจนว่าข้อสอบประเภทนี้ไม่สามารถใช้ทัศนคติและประสบการณ์ของผู้สอบมาตอบคำถามได้ค่ะ

    ดังนั้น ลองทบทวนข้อนี้ดูสักนิดแล้วกันนะคะ

    ขอบคุณค่ะ

    ReplyDelete
  33. ขอบคุณครับ ที่ส่งลิ้งค์มาให้

    ผมไม่เห็นด้วยกับอาจารย์ในรายการอ่ะครับ คือผมว่าอาจารย์แกไม่เข้าใจปัญหา ว่าคุณต้องการวัดอะไรจากเด็ก ๆ จากข้อสอบนี้อ่ะครับ นั่นคือ คุณต้องการให้เด็กคิดวิเคราะห์ปัญหาแล้ววัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้ความรู้จากวิชาสุขศึกษาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน หรือต้องการให้เด็กตอบว่าสทศ.ตั้ง"มาตรฐาน"ไว้ว่าอย่างไรให้คิดลึกเท่าไหร่อย่าขาดอย่าเกิน อ่ะครับ

    เทคนิคที่คุณพูดถึงน่าจะเป็นเทคนิคการเดาใจคนออกข้อสอบ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ต้องการจะวัดอ่ะครับ แต่แน่นอนครับมันความไม่เท่าเทียมกันในเทคนิคซึ่งไม่เหมือนกับสิ่งที่ต้องการจะวัด ทำให้คะแนนไม่เท่ากัน แต่ปัญหาต้นตอของมันคือการให้ตอบปลายปิดในคำถามปลายเปิดและไม่ให้อธิบายตัวเองอ่ะครับครับ

    ReplyDelete
  34. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
  35. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
  36. ลบอีกรอบขอพิมพ์ใหม่ พิมพ์ผิดเยอะน่ะครับ

    เห็นด้วยกับคุณ Tee ครับ...ได้ฟังอ.ครุจุฬาวันนั้นเหมือนกัน แต่อ.ท่านเองก็ยังยอมรับว่าท่านเดา ท่านเดาผิดหลายข้อเสียด้วยครับจากการเทียบกะเฉลยที่ออกมา คือท่านไม่รู้ว่าจริงๆจะตอบอะไร ไม่มีใครทราบหรอกครับ ทุกคนก็ต้องเดาใจคนออกข้อสอบอยู่ดีน่ะครับ จึงยังไม่น่าจะเรียกว่าข้อสอบคิดวิเคราะห์ครับ...ต้องดูเมื่อคืนครับรายการช่องเนชั่นประมาณสามทุ่มถึงสี่ทุ่มมีอ.มหาวิทยาลัยรังสิตท่านนึงมาวิจารณ์ข้อสอบอย่างตรงไปตรงมาเลยครับ มีเด็กมีพูดคุยด้วยสองคน ผมประทับใจน้องคนนึงที่ตอบคำถามข้อความเครียดน้องนกผิด น้องเค้าตอบน้องนกจะเครียดในเรื่องคนตัดสินไม่เป็นเป็นธรรม ซึ่งส่วนตัวผมตัดออกไปเพราะในบทความไม่ได้บอก ผมตอบตรงตามสทศ.เฉลยด้วยครับสำหรับข้อนี้ แต่น้องคนนี้แสดงทัศนะว่า จากบทความนกเตรียมตัวมาอย่างดีแล้ว โค้ชดี และเคยเป็นแชมป์ทั้งเดี่ยวและคู่ ไม่น่าจะตื่นเต้นหรือกดดันกะสนามใหญ่ๆหรือแม้ความเครียดจากความคาดหวังก้ไม่น่ามี เพราะโจทย์บอกเรื่องความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาของเธอไว้ด้วย น่าจะยอมรับได้แม้ผลจะออกมาแพ้ก็ตาม ดังนั้นน้องท่านนี้จึงเลือก กรรมการตัดสินไม่เป็นธรรมเพราะน่าจะเป็นกรณีเดียวที่ทำให้นกเครียดได้ เพราะเธอไม่อาจทำอะไรได้หากเกิดกรณีแบบนี้...ฟังแล้วประทับใจมากครับ ผมว่าเหตุผลดีกว่าที่ผมคิดอีก แม้ผมจะตอบตรงเฉลยก็ตาม ^^

    ReplyDelete
  37. การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในระบบการศึกษาเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนเพราะมีผลต่ออนาคตของเด็กซึ่งผู้ใหญ่เรียกว่าอนาคตของชาติ ควรมีการเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก(ทุก ๆ โรงเรียน ไม่ใช่สุ่มจากบางโรงเรียน) ศึกษาผลดีและผลเสีย มีการปรับปรุงแก้ไขจนได้วิธีที่ดีที่สุดก่อนการนำออกมาใช้ คะแนน ONET มีผลกระทบกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในบางคณะเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น หนูกับเพื่อน ๆ จำนวนมาก สอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ได้แล้ว แต่ต้องรอผลคะแนน ONET ซึ่งต้องได้อย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ จึงจะมีโอกาสเข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์ การได้เข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์เป็นความฝันและความตั้งใจของพวกหนู เป็นความหวังของพ่อและแม่ พวกเราทุกคนต้องใช้ความพยายามอย่างมากโดยเฉพาะตลอดระยะเวลา 3 ปี ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กว่าจะสามารถสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ได้ ซึ่งเราคิดว่าเป็นผลตอบแทนความพยายามของเรา แต่ถ้าเราจะไม่ได้เรียน ไม่ได้เป็นแพทย์ เพียงเพราะการเปลี่ยนมาตรฐานการสอบ ONET ในปีนี้ เราคิดว่าไม่ยุติธรรมกับพวกเราอย่างมาก ทุกวันนี้เพื่อนบางคนเครียดมาก ๆ บางคนคิดวนไปวนมายอมรับไม่ได้ (ซึ่งถ้ามาตรฐานการสอบ ONET ไม่เปลี่ยนแปลง หรือมีการเตรียมความพร้อมให้กับพวกเราก่อนการใช้มาตรฐานใหม่ เราทุกคนยินดีรับผลจากการสอบของเรา) พวกเราอยากเสนอให้ยกเลิกการนำผลการสอบของ ONET มาเกี่ยวข้องกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีนี้ ซึ่งคิดว่า เด็ก ๆ ทุก ๆ คน คงเห็นด้วย เพราะมีแต่ผลดี ไม่มีผลเสียใด ๆ กับใครเลย อยากให้ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ช่วยกันหาวิธีแก้ไข ก่อนจะสายเกินแก้ เพราะเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ใหญ่มากกับเด็ก ๆ อย่างพวกเรา

    ReplyDelete
  38. เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความเห็นของคุณ KEAW ทีได้ post ไว้ โดยส่วนตัวผมเห็นว่า ทางคุณอุทุมพร น่าจะยอมถอยสักหลาย ๆ ก้าว มันเป็นปัญหาระดับชาติครับ ไม่ใช่ปัญหาระดับหมู่บ้าน สิ่งที่เกิดขึ้นจะสร้างรอยด่างทางด้านความคิดติดตัวเด็กตลอดไป โดยส่วนตัวผมที่เป็นผู้ปกครองของเด็กคนหนึ่งอยากเสนอให้ท่านนายกอภิสิทธิ์ลงมาดูแลด้วยตัวท่านเอง และพิจารณาผลดีผลเสีย ตลอดจนผลกระทบกับเยาวชนของชาติ และยกเลิกการนำมาใช้ในระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ขอให้พิจารณาถึงผลกระทบของเยาวชนโดยส่วนใหญ่ อย่าให้เหมือนกับครั้งหนึ่งในประเทศไทย ที่จะปรับเปลี่ยนเวลาของชาติไปใช้ตามประเทศสิงคโปร์ โดยไม่คำนึงถึงผลได้ผลเสียเช่นที่ผ่านมา

    ReplyDelete
  39. เรามาร่วมกัน หาทางออกกันนะครับ ช่วยกันไปร่วมงานเสวนาหาทางออกในวันที่ 13 นี้

    เครือข่ายเยาวชนเพื่อการศึกษาไทย

    ร่วมกับ ศูนย์ประสานงาน นักเรียน นิสิต นักศึกษา

    และ กลุ่มแรงคิด ต้นกล้าประชาธิปไตย


    ขอเชิญร่วมงานเสวนาเพื่อหาทางออกการศึกษาไทย

    Speak UP! แอดมิชชั่น เอาไงแน่

    เสาร์ที่ 13 มีนาคม 2553

    เวลา 13.00น. - 17.00น.

    ณ อาคารจามจุรีสแควร์ ชั้นใต้ดิน (สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสามย่าน)

    วัตถุประสงค์
    ระดมความคิดเห็นเยาวชน เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับการแก้ปัญหาแอดมิชชั่นและการศึกษาไทย

    ในงาน
    พบกับวิทยากรมากหลายท่านที่จะมาให้ความรู้

    พร้อมกิจกรรมระดมความคิดเห็นสำหรับเยาวชนหลายรูปแบบ
    เปิดเวทีให้ทุกคนได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเปลี่ยน
    ทุกๆความคิดเห็น จะถูกเรียบเรียงเพื่อเป็นนโยบายการแก้ปัญหา และจะร่วมเดินทางไปยื่นหนังสือต่อท่านนายกฯ ในวันที่ 23 นี้

    ติดตามรายละเอียด
    http://www.rangkid.com/
    แรงคิดทีวี ทางช่องทีวีไทย ทุกวันเสาร์10.00น.

    เครือข่ายเยาวชนเพื่อการศึกษาไทย
    http://antigatpat.fws.cc

    ynfte@hotmail.com

    ช่วยกันนะครับ

    ReplyDelete
  40. ในอนาคตควรยกเลิกอยู่แล้วครับ การใช้ O-net มาคิดรวมเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย มันผิดจุดประสงค์ แต่สำหรับเด็กปีนี้ทำอย่างไรให้ยุติธรรมล่ะครับ เมื่อสองวันที่แล้วผมกับเพื่อนอีกคนนึงได้คิดกันว่าสังคมเนี่ยให้ partial credit ยังไงดีให้ยุติธรรม และให้เทียบกับปีก่อน ๆ ได้ที่ expected value ของการเดาคือ 1/4 ได้เราได้มาสอง strategy ครับ อันนึงนี่ผมว่าอธิบายคนทั่วไปไม่ได้แน่นอน คงฟังแล้วมึนสามรอบแต่แฟร์มาก แต่อีกอันก็แค่คิดว่าเป็นถูกผิดและตอบผิดติดลบนิดหน่อย แต่ได้น้อยสุดคือ 0 ในข้อนั้น point ของการบอกนี้คือว่า มันทำได้ครับ เทียบว่าแพทย์ปีนี้ต้องเกณฑ์ขั้นต่ำเท่าไหร่ ถึงจะเทียบเท่ากับปีที่แล้ว 60% ได้ ซึ่งแน่นอนว่าเกณฑ์ขั้นต่ำปีนี้ต้องต่ำกว่าเดิม ลองท้วงไปทางกสพท เค้าน่าจะคิดเลขเป็นและฟังนะครับ

    คุณอุทุมพรก็ถอยมาพอตัวแล้วครับ เช่นให้ partial credit ในข้อที่ต้องตอบหลายคำตอบ

    แต่อยากให้ทุกคนเข้าใจว่ามีอีกสถาบันนึงที่ เป็นตัวก่อปัญหาตัวจริง คือ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ที่ทำอะไรไม่ฉลาดเท่าไหร่ เช่นการใช้โอเน็ต และ การรวมฟิสิกส์เคมีชีวะเข้าด้วยกัน ทำให้คัดคนเข้ามหาลัยทำใด้ยากมาก เพราะสามวิชานี้ มันคนละ skill เลยครับ และตอนนี้ ทปอ ทำตัวลอยตัวเหนือปัญหาอยู่ ถ้าพูดจริง ๆ คือความผิดสทศ. เทียบกับ ทปอ. แล้วน้อยกว่ามากครับ สทศ.ผิดแค่ออกข้อสอบที่คนสอบต้องเดาใจ แต่ตัวต้นตอปัญหาจริง ๆ คือ ทปอ. ครับที่เอา O-net มาใช้ผิดจุดประสงค์

    ReplyDelete
  41. อยากให้มีการตรวจสอบ การใช้งบประมาณทั้งหมด อย่างละเอียด จากการเก็บค่าสมัครสอบ ของนักเรียนแต่ละคน ว่านำไปใช้ทางด้านใดบ้างนะะครับ

    มีข่าววงใน ที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่

    ReplyDelete
  42. ฝากเรื่องทปอ.ด้วยคนครับ คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักทปอ. รวมถึงนักเรียนส่วนมากด้วย ทปอ.ถือเป็นต้นตอของปัญหาเลยนะครับ เรื่องเงินๆทองๆผมไม่ทราบว่าโปร่งใสแค่ไหนเหมือนกัน แต่ลองหาข้อมูลของ ทปอ.ดูนะครับ หากได้ดูรายการเปลี่ยนประเทศไทยตอนที่ 2 ที่ทปอ.มา อืมมม ลองไปสืบค้นเชื่อมๆโยงๆ กะคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรดูนะครับ ...

    ReplyDelete
  43. ผมลองพูดแนวคิดมุมกลับ
    คือ หลักสูตรการศึกษา ปกติมีการวางเกณฑ์มาตราฐาน ซึ่งขึ้นอยู่กับโรงเรียน และอาจารย์ผู้สอนอีกเหมือนกัน ว่าจะสามารถจัดการสอนให้แก่ นักเรียนตรงตามหลักสูตรที่มีการกำหนดไว้หรือไม่ แต่ปัญหาสำคัญคือ การกระจายโอกาศทางศึกษาซึ่งแต่ละโรงเรียนไม่เท่ากัน แต่ข้อสอบก็ออกมาตามมาตราฐาน

    ปัญหาตัวชี้วัด
    คือ ตอนนี้เท่าที่ผมดูการศึกษาไทย แต่หน่วยงานก็ทำงานแต่ละหน้าที่ แต่หน้าที่ไม่ค่อยสอดคล้องกัน เช่น สพท. สพฐ. เป็นตัวกำหนดทิศทางของหลักสูตร แต่ สทศ. มีหน้าที่ออกข้อสอบตามมาตราฐานหลักสูตรที่มีการกำหนดไว้ ซึ่งข้อสอบ สทศ. ก็เป็นตัวชี้วัดมาตราฐานการสอนของโรงเรียนได้เช่นกัน
    ปัญหา คือ สทศ. มีหน้าที่ชีวัด ส่วน สพท. สพฐ. มีหน้าที่วางสูตร
    พอผลการชี้วัดออกมาไม่ดี ก็แจ้งว่า"การปฏิรูปผิดพลาด" พอรู้ว่าผิดทำไมไม่มีการช่วยกันแก้ไข ให้หน่วยงานเดียวทำ ก็ออกคนละทิศละทาง ผลเสียก็ตกกับพวกเรา [นักเรียน]

    ทปอ.~สทอ.
    ทำไมไม่ร่วมกับ สทศ. เพื่อปรับแนวข้อสอบให้มีทิศทางที่ต้องการ เมื่อมีข้อมติออกมา น่าจะมีการทำมติ เช่น การรับ ตรง ต่อ แอดมิสชั่น ซึ่งในความจริงมีการรับตรงมมากกว่าแอดมิสชั่นเยอะ แต่การรับตรงแต่ละครั้งนักเรียนที่ทำการสอบก็ยังมีค่าใช้จ่ายมาก แล้วอีกอย่าง การรับตรงส่วนใหญ่เริ่มตอน ม.6 เทอม 1 ปัญหาที่ตามมาก็คือ เด็กไปกวดวิชามากขึ้น ซึ่งสวนกระแสกับนโยบายการศึกษา หรือ ว่าจะให้มีการปรับหลักสูตร เพื่อให้เป็นทางเดียวกัน คือ เรียน ม.4-5-6 รวม 6 ภาคเรียน ----> ให้เรียนให้จบภายใน 4 -5 ภาคเรียน สรุปสุดท้าย จะปรับหลักสูตร จะเปลี่ยนข้อสอบ ผมก็แย่อยู่ดี

    ReplyDelete
  44. อยากให้ยกเลิกเกณฑ์ที่นำผลสอบ ONET มาใช้ โดยเฉพาะการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อคณะแพทย์ ของ กสพท.มันวัดอะไรไม่ได้หรอกครับโดยเฉพาะบางสถานศึกษาไม่ทราบมาก่อนว่าแนวทางข้อสอบของ ONET จะออกอย่างไร อย่าเข้าใจเอาเองว่าทุกบ้านหรือทุกครัวเรือนจะมีระบบ INTERNET ใช้ นักเรียนตามชนบทแค่มีไฟฟ้าใช้นับว่าบุญโข บางบ้านนักเรียนยังใช้ SOLAR CELL ดูหนังสืออยู่ อย่าคิดว่ามีการนำร่องบางโรงเรียน มีสถานศึกษาอีกนับร้อย ๆ ที่ไม่ทราบ และ อาจารย์ก็ไม่ทราบเช่นกัน อย่าให้เด็กที่สอบแล้วต้องมาเครียดกับสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการเอาชนะกันแค่ความคิดเลยครับ ยกเลิกไปเถอะ

    ReplyDelete
  45. ผมเห็นด้วยกับเรื่องการปรับเปลี่ยนการนำผลการสอบ ONET มาเกี่ยวข้องกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์ เพราะผมก็เป็นคนหนึ่งที่กำลังรอผลการสอบ ONET เพื่อเข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์ แต่ถ้าไม่สามารถยกเลิกการนำผลการสอบ ONET มาเกี่ยวข้องกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก็ขอเสนอให้ปรับเกณฑ์ให้ลดลง เช่น จากเดิมต้องได้คะแนน ONET ไม่น้องกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ จึงจะสามารถเข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์ได้ ปรับให้ลดลงเป็นเหลือเพียง 40-50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผมคิดว่าเป็นความยุติธรรมต่อการที่ได้มีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานข้อสอบ ONET ในปีนี้

    ReplyDelete
  46. ลองประสานกับทาง www.parent-youth.net ดูสิครับ
    อ.หมอเขาสู้มาตั้งแต่แอดมิดชั่นส์ปีแรกๆ
    ร่วมมือกันหลายๆทางครับ อยากเห็นการศึกษาพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นเหมือนกัน ^^

    ReplyDelete
  47. http://www.parent-youth.net/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=parent-youthnet&thispage=1&No=1289751
    เอามาแปะให้ครับ

    ReplyDelete
  48. ก่อนอื่นขอออกความเห็นเกี่ยวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อน สำหรับกรณี onet โดยส่วนตัวแล้วไม่อยากให้ต่อว่า สทศ. เพราะเป็นหน่วยงานที่รับหน้าที่ออกข้อสอบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อสอบนั้นๆ เท่านั้น แม้บางข้ออาจจะไม่ชัดเจน และบางข้ออาจไม่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยก็ตาม แต่ข้อสอบก็ตอบโจทย์ของมันคือเป็นข้อสอบที่เหมาะจะใช้ในการประเมินการสอนของโรงเรียน แต่หน่วยงานอย่าง สกอ. และ ทปอ. กลับนำข้อสอบประเภทนี้มาใช้คิดคะแนนรวมในการประเมินผู้สมัครเข้าเรียนอุดมศึกษา ฉะนั้นปัญหาจึงอยู่ที่แนวคิดของ สกอ. และ ทปอ. ไม่ใช่ สทศ.

    แนวคิดของ สกอ. และ ทปอ. ยุคหลัง Entrance คือพยายามคัดเลือกผู้สมัครที่มีความรู้ทั่วไปสูง สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้รวดเร็วในมหาวิทยาลัย คล้ายๆ การคัดเลือกของโรงเรียนผู้มีความสามารถพิเศษ ซึ่ง สพฐ. ก็ได้พยายามปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้กว้างขึ้น และสอดคล้องกับความต้องการของ สกอ. และ ทปอ. ดังนั้น สกอ. และ ทปอ. จึงสามารถคัดเลือกผู้สมัครจากสิ่งที่เรียนในระดับมัธยมปลายได้เลยทันที ซึ่งมีข้อดีคือไม่จำเป็นต้องออกไปเรียนกวดวิชาเพิ่มเติม

    แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ผู้ที่ได้เข้ามหาวิทยาลัยจริงกลับไม่มีความรู้ทางวิชาการเพียงพอที่จะเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ เพราะการคัดเลือกไม่ได้ให้ความสำคัญกับวิชาการมากเพียงพอโดยเฉพาะในสายวิชาวิทยาศาสตร์ จีงประสบปัญหาอย่างมาก ต้องมีการปรับพื่นฐานให้แก่นิสิต นักศึกษา ก่อนจะเริ่มต้นการสอนในมาตรฐานของวิชานั้นๆ

    ทางแก้ของปัญหานี้จึงอยู่ที่ทัศนคติของผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงาน และการปรับหลักสูตรก็เป็นอีกส่วนสำคัญ ถ้าข้อสอบ onet ของ สทศ. ตอบโจทย์ได้จริง ก็จะเห็นได้ว่าหลักสูตรได้เปลี่ยนไปไกลมาก แทนที่ข้อสอบจะให้ความรู้สึกทางวิชาการ กลับให้ความรู้สึกเหมือนสอบข้อสอบชั้นประถมคือถามกว้างๆ ไม่เจาะถึงแกนของวิชา แสดงว่าหลักสูตรไม่ได้เน้นที่วิชาการอย่างที่ควรจะเป็น การกลับไปเน้นความเข้มข้นทางวิชาการอย่างเดิมจึงเป็นส่วนสำคัญ แล้วจึงสอดแทรกแนวคิดที่ทั้ง สกอ. และ ทปอ. ต้องการในขณะนี้เพิ่มเติมเข้าไปอย่างเหมาะสม และเพื่อที่ให้สามารถทำได้จริง จำเป็นต้องมีการวางโครงสร้างวิชาใหม่ทั้งหมดและเฉพาะเจาะจงให้แก่นักเรียนตามแต่ความชอบความถนัดแต่ละบุคคล ไม่ใช่ทุกคนต้องเรียนกราดในสิ่งที่ตนไม่ได้มีความสนใจ ทำให้มีเวลาที่จะเรียนรู้เรื่องอื่นๆ ที่สนใจได้มากขึ้น

    ส่วนเรื่องระบบการคัดเลือกนั้น ผมอยากให้มองไปที่วิชาการมากกว่า อาจจะใช้ข้อสอบในลักษณะ onet รวมทั้ง gpa เป็นเกณฑ์ประกอบการรับสมัคร แต่ไม่รวมเป็นส่วนหนึ่งของคะแนนที่จะใช้ตัดสิน เช่น ต้องได้ onet 50% และ gpa 2.5 ขึ้นไปจึงจะเข้ารับการคัดเลือกของคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เป็นต้น

    ไม่รู้ว่าจะมีคนเห็นด้วยมากน้อยแค่ไหน ถ้าใครอยากแลกเปลี่ยนก็เชิญได้นะครับ

    ปล. อยากให้รัฐเร่งแก้ปัญหานี้ เพราะประเทศเราสูญเสียทรัพยากรไปมากแล้วกับระบบการศึกษาไทยที่มีแต่จะแย่ลงทุกวัน

    ReplyDelete
  49. 1. เสนอว่าการสอบเอนทรานควรจะเน้นเฉพาะทางไปเลยครับ แต่ละมหาลัยออกข้อสอบเองเพื่อที่จะสอดคล้องหลักสูตรที่แต่ละมหาลัยจะสอน หรืออาจจะร่วมกันระหว่าง 2-3 มหาลัยก็ได้ อยากเรียนที่ไหนก็ไปสอบที่ั่นั่น และถ้าไม่ผ่านก็หาประสบการณ์ชีวิตทำอย่างอื่นได้ เราควรให้เด็ฏรู้จักคิดไม่ใช่อะไรๆ ก็ต้องสอบเอนทรานให้ได้อย่างเดียว
    2. การเรียนการสอนในระดับประถม มัธยม วิชาชีพ การช่าง ควรเน้นใช้ความคิด ปฏิบัติ ประเทศจะได้เจริญ
    3. ตั้งทีมตรวจสอบคุณภาพข้อสอบและการจัดสอบโดยคนนอก

    ReplyDelete
  50. ดิฉันเสนอว่าควรจะสอบแบบเดิม คือ สอบตามวิชาที่ควรจะสอบ และสอบปีละ 1 ครั้ง ใน 1 ปี ก็จะสามารถทราบผลว่าจะได้รับเข้าศึกษาต่อหรือไม่ ซึ่งถ้านักเรียนคนใดสอบไม่ผ่านในปีนี้ก็มีโอกาสสอบในปีหน้าได้ ทำให้เปิดโอกาสให้กับนักเรียนทุกคน ส่วนเรื่องที่นักเรียนต้องไปเรียนกวดวิชา ควรแก้ที่ต้นเหตุมากกว่า นั่นคือ สอนอย่างไรให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ เพราะถ้าสอนดีแล้ว นักเรียนเข้าใจ ทำข้อสอบได้ ทำไมต้องไปเรียนกวดวิชาด้วยละ จริงไหม

    ReplyDelete
  51. เห็นด้วยกะคุณ Lert มากๆครับ

    ReplyDelete
  52. ผมนายชลเทพ ปั้นบุญชู

    นักศึกษาปริญญาโท สาขาสังคมวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา

    กำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่อง ความขัดแย้งในระบบแอดมิชชันส์
    น้องคนไหน หรือใครที่อยากแสดความคิดเห็นส่ง เมล เพื่อติดต่อกลับและนัดสัมภาษณ์ได้ที่ noom_admission@hotmail.com

    ประเด็นนี้ขอแลกเปลี่ยน
    จริงๆแล้วระบบแอดมิชชันส์นั้น แท้ที่จริงก็คงไม่ต่างอะไรกลับ เอนทรานส์ระบบเก่า แต่ที่ต่างคือ การใช้คะแนน ที่เพิ่มออกไป และวิธีการออกข้อสอบ อันที่จริงแล้วนอกเหนือจากการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องทาง สทศ.แล้ว จริงๆยังไม่พอนะครับ เพระว่าผู้ที่กำหนดนโยบายโดยการใช้คะแนน โอเนต แกท แพท นั้น เป็น ทปอ. ซึ่งเรื่องนี้อาจารย์อุทุมพร ก็เป็นแค่แพะหรือเหยือหนึ่งเท่านั้น หากจะโทษว่าเป็นความผิดของ อาจารย์อุทุมพรก็คงไม่ถูกนัก

    ในฐานะที่เป็นนักรัฐศาสตร์ วิพากษ์นโยบายสาธารณะ ส่วนนี้ขอเสนอว่า ควรทำประชาพิจารย์ ในฐานะที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเด็กทั้งประเทศ ที่สำคัญคือ ประเทศไทยมักอ้างว่าเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตย แต่แค่เรื่องการศึกษา ก็สะท้อนรัฐเผด็จการได้เป็นอย่างดี โดยการออกนโยบายแบบบีบบังคับ ไม่มีการถามความเห็น(มีบ้างแต่ถามเป็นพิธี) สุดท้ายก็เอาตามที่ตนเองต้องการ(ผู้มีอำนาจ) มักอ้างว่าเป็นความคิดที่ดีที่สุดเพื่อเด็ก ท้ายที่สุดแล้วก็ไม่ต่างอะไรกับการจูงจมูกแบบชี้นำทิศทาง
    ส่วนหนึ่งก็คือ ปัญหาการมีส่วนร่วม ถามหาว่าคนสอบคือเด้ก แต่แทบไม่มีบทบาทอะไรกับการกำหนดนโยบาย ในส่วนนี้คงไม่เป็นธรรมและไม่ยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตย จุดดังกล่าวนั่นก็หมายถึงปัญหาในเรื่อง สิทธิอำนาจ ว่าใครมีมากกว่ากัน นั่นก็หมายถึง เด็ก กับ ทปอ. สทศ และ อื่นๆ
    ดังนั้นเราจึงต้องเข้าใจตัวแปนในการกำหนดนโยบายและพยายามเคลื่อนไหวในลักษระที่มีข้อต่อสู้งวิชาการด้วย

    พี่ ในฐานะผู้สนใน potentail ในมิติมาร์กซิสม์ ไม่เห็นด้วยกับระบบนี้ และยินดีเป็นแนวร่วมกับน้องๆและเพื่อนๆในเครื่อข่ายทุกคน

    ปล. ไงก็ช่วยส่งเมลมาหาพี่มากๆนะพี่จะได้พูดคุยร่วมแลกเปลี่ยนทางวิชาการ(อย่างเป็นระบบlogic อย่างที่ ดร. อุทุมพร ต้องการ)

    ReplyDelete
  53. วิพากษ์ การสอบ O-NET ในมุมมองปรัชญาการศึกษาและสังคมวิทยา



    นายชลเทพ ปั้นบุญชู*



    เกริ่นนำ



    เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ และวันอาทิตย์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พศ. ๒๕๕๓ สำนักทดสอบมาตราฐานทางวิชาการแห่งชาติ (สทศ.) ได้จัดให้มีการทดสอบวัดความรู้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับพื้นฐาน หรือที่เรียกว่าการสอบ O-NET ซึ่งได้ทดสอบในกลุ่มสาระวิชา ภาษาไทย สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ศิลปดนตรี และการงานพื้นฐานอาชีพ ผ่านพ้นไป แต่ปัญหาที่ยังคงเป็นประเด็นค้างคาใจนั่นก็คือ ข้อสอบที่แปลกใหม่ (ออกจากหลุดไปจากที่คาดการณ์ไว้ของเด็ก) กับความท้าทายที่เด็กหลายคนเชื่อว่าพวกเขาจะเดาใจทางสทศ.ถูกหรือไม่ กับคำตอบที่ชวนให้ฉงนและมึนงง พวกเขารู้สึกได้ถึงความคลุมเครือและข้อสับสนนี้ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดสำหรับหลายๆคน รวมไปถึงผู้เขียนที่กำลังศึกษาเรื่อง แอดมิชชันส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท สาขา สังคมวิทยา ในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ความขัดแย้งที่ผู้เขียนสนใจยาวนานมากว่า ๔ ปี โดยผู้เขียนจะขอใช้มุมมองทาง ปรัชญา สังคมวิทยา และการศึกษาเป็นตัวไขกุญแจปัญหาดังกล่าวในส่วนของเนื้อหาที่ได้นำเสนอต่อจากนี้







    ภาคเนื้อหา



    ผู้เขียนในฐานะที่ศึกษาปัญหาแอดมิชชันส์ ในทางวิชาการ มองว่า ปัญหาดังกล่าวมีมายาวนาน ไม่ต่างอะไรกับมาบตะพุด หรือ GT 200 เพราะว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งในส่วนของวิธีคิด วิธีปฏิบัติ รวมไปถึงการแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าว สิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับบทความนี้คือผู้เขียนพยายามนำเสนอผ่านการวิพากษ์และตั้งคำถามในเชิงวิชาการกับ ผู้กำหนดนโยบาย ทั้ง ทปอ. สทศ. และสกอ. ตรงนี้คือโครงสร้างอำนาจหลักในเชิงสถาบัน ที่กำหนดนโยบายดังกล่าว ว่าอยู่ในฐานคิดด้านใด มีจุดยืนอย่างไร และทำไมเด็กถึงต่อต้านระบบแอดมิชชันส์



























    วิวาทะระหว่างสทศ. และนักเรียนผู้สอบ O-NET กับมุมมอง “ปรัชญาการศึกษาและสังคมวิทยา” ผ่านบทวิพากษ์



    การสอบ O-NET ครั้งนี้ มีความแตกต่างกับทุกๆครั้งที่ผ่านมาเพราะทางสทศ.ได้ออกแบบทดสอบที่มีความซับซ้อนขึ้น[1] โดยให้นักเรียนเลือกตัวเลือกหลายคำตอบ ซึ่งจำเป็นจะต้องตอบถูกทั้งหมดจึงจะได้คะแนน จริงอยู่ที่การออกข้อสอบมีความซับซ้อนมากขึ้น คำตอบมีลักษณะของการวัดว่าสามารถประยุกต์ (Apply) เพื่อดูกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ของเด็กและวัดทักษะการนำไปใช้จากสถานการณ์ที่กำหนดให้ ฟังในช่วงแรกก็ดูดี แต่พอฟังมากขึ้นกลับพบว่ามีปัญหามากมาย เช่น ความเป็นปรวิสัย[2] ของข้อสอบว่ามีมากน้อยเพียงใด เนื่องจากการเลือกคำตอบจะต้องมีความแน่นอนในระดับหนึ่งเนื่องจากเป็นการเลือกคำตอบที่ถูกต้อง(แม้ว่าจะมากกว่าหนึ่งข้อก็ตาม) แต่ลักษณะคำถามดูเป็น อัตวิสัย[3]มาก บางข้อเป็นการให้เลือกตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่ประสบ ซึ่งผมเชื่อว่าเราจะตอบในมุมมองของใคร เช่น ตัวละครในข้อสอบ ตัวเราเอง หรือเอาใจผู้ออกข้อสอบ ตรงนี้แหละที่ผมว่ามันเป็นปัญหา เพราะว่าถ้าเป็นอัตวิสัยในตัวข้อสอบ มันควรจะไม่มีการกำหนดคำตอบที่ถูกต้องไว้ตายตัว แต่ควรให้น้ำหนักกับเหตุผลหรือการให้คำแนนที่แตกต่างกัน เช่น ตอบข้อ ก. ได้ ๑ คะแนน ตอบข้อ ข. ได้ ๓ คะแนน ตอบข้อ ค. ได้ ๔ คะแนน ตอบข้อ ง.ได้ ๒คะแนนเป็นต้น อันนี้คือการให้คุณค่ากับข้อสอบที่มีความเป็นอัตวิสัย เพราะมันมิใช่การตัดสินว่าถูกผิดอย่างแท้จริง แต่มันหมายถึงเราประเมินต่อเรื่องที่เรามองนี้อย่างไร และเลือกทำด้วยเหตุผลใด มากกว่าจะตัดสินว่าวิธีใดดีที่สุด(ตามมุมมองของผู้ออกข้อสอบ)

    ReplyDelete
  54. ปัญหาในทางปรัชญามีอยู่ว่า การออกข้อสอบข้อสอบ O-NET หรือวิชาอื่นๆที่ผ่านมานั้น อยู่ในอุดมการณ์ทางปรัชญาแบบใด ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า ศ.ดร อุทุมพร จามรมาน และคณะผู้ร่วมจัดทำแบบทดสอบนั้นคงจะได้รับอิทธิพลจากปรัชญาการศึกษาแบบสารัตถะนิยม เนื่องจากกลุ่มสำนักนี้มีแนวคิดค่อนไปทางอนุรักษ์นิยมเชิงเผด็จการ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะวิธีคิดของอาจารย์มุ่งเน้นการสอบในเชิงสาระพื้นฐานเพื่อจะได้นำความรู้ไปต่อยอดในอนาคต ดังนั้นคนที่จะเป็นเลิศในสายตาของปรัชญาการศึกษากลุ่มนี้คือ ต้องเก่งรอบด้าน รอบรู้ทุกด้าน เน้นการเรียนที่เข้มข้น มีพื้นฐานหลากหลายวิชา เพื่อไว้ใช้เป็นพื้นฐานต่อยอดในภายภาคหน้า สำนักสารัตถะนั้นจึงส่งเสริมให้มีการเรียนแบบสหวิทยาการ ยิ่งมากยิ่งดี จะได้เก่งและรอบรู้ เน้นการใช้ทักษะที่หลากหลายเพื่อฝึกฝนตนเอง ผมคิดว่าอันนี้ตรงกับวิธีคิดของผู้อำนวยการสทศ. ซึ่งผมก็นั่งฟังอาจารย์พูดหลายรอบเกี่ยวกับการวัดผลในข้อสอบที่สทศ.เป็นผู้จัดทำ

    ReplyDelete
  55. แต่ในฐานะที่ผู้เขียนไม่เชื่อว่าปรัชญาสารัตถะจะดีพร้อมสมบูรณ์แบบในเชิงอุดมคติดังที่ได้วาดภาพไว้สวยหรู ซึ่งผู้เขียนจะขอสะท้อนปัญหาทางปรัชญาในกลุ่มสำนักคู่ตรงข้ามนั่นก็คือ ปฏิบัตินิยม[4] (Pragmatics) และอัตถิภาวะนิยม[5] (Existence) จากปัญหาที่เกิดจากการทำข้อสอบของเด็กและได้มาระบายความรู้สึกผ่านรายการข่าว ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์และน่าสนใจเพราะได้สะท้อนถึงโลกทัศน์และมุมมองหลังจากที่ได้ทำการสอบเสร็จสิ้นไปแล้ว่ารู้สึกอย่างไรกับข้อสอบและคำตอบที่เป็นตัวเลือก แม้ว่าอาจจะไม่ใช่ตัวแทนของคนทั้งหมดแต่ก็เป็นความคิดที่หลายๆคนก็น่าจะรู้สึกเช่นเดียวกัน ข้อสอบ O-NET ในรายวิชาสุขศึกษา ซึ่งนำมาถกเถียงกันผ่านเวบไซต์ออนไลน์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความรู้สึกผ่านกระทู้ในหลายๆที่ ก็เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์สำหรับการทำความเข้าใจปัญหาในฐานะที่ผู้เขียนเป็นนักเรียนสังคมวิทยา ที่สนใจต่อปรากฏการณ์ดังกล่าว ข้อสอบเรื่องการเลือกตัดสินใจของนิด ว่าจะทำแท้ง แจ้งความ หยุดเรียน หรืออื่นใด[6]ก็แล้วแต่ ผมคิดว่า เรากำลังจะวัดอะไร เช่น เราจะเดาใจนิด หรือเราจะตอบตามใจตัวเอง หรือ เราจะเดาใจผู้ออกข้อสอบ ว่าจะเลือกิธีการไหน เพราะผมคิดว่าข้อนี้เราตัดสินแทนนิดไม่ได้เลย เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ เช่นเป็นไปได้ว่านิดอาจจะเลือกทำแท้ง ก็ได้ ถ้านิดมาจากครอบครัวที่พ่อแม่คาดหวังกับลูกค่อนข้างสูง แล้วนิดก็เรียนดีแต่พลาด และมีเพื่อนมาชักชวน ถามว่าผิดหรือไม่ ผมคิดว่า การเลือกคำตอบที่เหมาะสมไม่จำเป็นต้องถูกต้องทางศีลธรรม เพราะว่า ปรสบการณ์ในการตัดสินใจของแต่ละบุคคลต่างกันอันเนื่องมาจากการหล่อหลอม การเลี้ยงดู การขัดเกลา ผ่านสถาบันต่างๆ มนุษย์จึงมีเหตุผลที่ต่างกัน ตามความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ยิ่งถ้าเป็นนักมานุษยวิทยามาศึกษาเรื่องนิดยิ่งตัดสินว่านิดควรทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมไม่ได้เลย เนื่องจากเรายังไม่ทราบบริบทนิดเลย หรือแม่ทราบเราก็แค่ เข้าใจมากกว่าตัดสิน หรือถ้าเราจะเสนอต่อนิดนั้นก็เป็นมุมมองของเราที่ไม่ใช่ตัวนิด เพราะว่านิดไม่ได้ถูกขัดเกลามาแบบเราจึงไม่จำเป็นจะต้องเชื่อหรือคิดตามเรา ผู้เขียนเชื่อว่านี่แหละคือปัญหาทางปรัชญาว่า ข้อสอบที่ถามในเชิงอัตวิสัยนั้น ตัดสินจากมุมมองของใคร มีข้อมูลในการประเมินเพียงพอหรือไม่ หรือเพียงแค่ตีตรา หรือตอบตามจารีตประเพณีทางสังคม ดังนั้นคำตอบจึงเป็นไปได้ทุกทาง เพราะความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์นั้นไม่จำเป็นต้องถูกต้องดีงามก็ได้ ขึ้นอยู่กับการเลือกหนทางในวิถีของตนตามที่ได้รับการเรียนรู้มา ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าถ้าเป็นข้อสอบลักษณะนี้ไม่ควรทำเป็นปรวิสัยหรือการเลือกตอบข้อที่ดีที่สุด เพราะเราไม่รู้ว่า “ดีที่สุด” นั้นอยู่ในมุมของใคร หรือควรจะถามไปเลยว่ามุมของใคร เช่นมุมของจารีตประเพณีทางสังคม นิด หรือว่า สทศ. เด็กจะได้ไม่สับสนและเลือกคำตอบได้ง่ายขึ้น เพราะก็ไม่แน่ใจว่ากำลังจะเลือกให้ใครถูกใจ คำถามในลักษณะนี้ควรเป็นอัตนัยมากกว่าเพราะข้อสอบเป็นอัตวิสัยมาก อันนี้จะอรรถฐาธิบายและวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ได้ดีและลุ่มลึกกว่า และผมเห็นว่าข้ออื่นๆที่มีลักษณะคล้ายข้อดังกล่าวก็คงเช่นเดียวกันคือควรเป็นข้อสอบเขียนมากกว่าเลือกตอบคำตอบที่ดีที่สุดเพียงคำตอบเดียว

    ReplyDelete
  56. ในปัญหาทางปรัชญาอีกด้านก็คือ การนำแนวคิดและอุดมการณ์ทางปรัชญาการศึกษาแบบสารัตถะนิยมมาใช้อย่างไม่ลืมหูลืมตามนั้นดีจริงหรือ? เพราะผมเชื่อว่ามันคือมายาคติ[7] (Mythology) และมีลักษณะเหมือนภาพตัวแทน (Representation) ที่มุ่งเน้นสัมฤทธิผลจากการเรียนการสอบตั้งมากมาย ว่าเด็กที่เก่งจะต้องมีทักษะและสนใจรอบด้าน ท้ายที่สุดแล้วเด็กยังไม่รู้เลยว่าตนเองสนใจอะไร หรือมีศักยภาพในตัวเองด้านใด เพียงแต่ถูกตีกรอบว่า “จะต้องสอบอันโน้น” ชี้นำว่า “จะต้องเรียนให้เก่งรอบด้าน” หากกระบวนการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ยังใช้ระบบแอดมิดชันส์ภายใต้อำนาจทางความรู้แบบสารัตถะนิยม ผมเชื่อว่า คนที่เก่งด้านใดด้านหนึ่งก็คงจะมีพื้นที่ยืนน้อย เช่นเด็กที่มีทักษะด้านกิจกรรม การเข้าใจตนเองและผู้อื่น ศิลปะ ดนตรี กีฬา หรืออื่นๆ ก็คงไม่ผ่านระบบการคัดเลือก ที่มีกระบวนการได้มาอย่างเข้มข้นเอาเป็นเอาตายหรือที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า “ใครโง่คัดออก” ผมว่านี่แหละครับคือจุดอ่อนของระบบการศึกษาไทยที่ชอบคิดอะไรเพียงด้านเดียวและก็เหมารวมว่ามันดีจนไม่ตั้งคำถามอะไรเลย เช่น ผมเชื่อว่าเขาเก่ง ซึ่งคนเก่งล้วนแต่เป็นคนดี ดังนั้นก้องเป็นคนเก่งก้องจึงเป็นคนดีด้วย ตัวอย่างที่ยกมานี้คือวิธีคิดคนไทย(เพียงส่วนหนึ่ง) เพื่อให้เห็นว่าการที่สรุปอะไรง่ายๆโดยที่ไม่ได้ตรึกตรองอย่างรอบคอบมักเกิดผลเสียตามมาภายหลัง ให้ผมพูดถึงข้อเสียของระบบแอดมิชชันส์ ใช้เวลาหนึ่งวันนี่ผมยังอรรถฐานธิบายไม่จบเลย แต่แปลกไม่เห็นมีใครฟังผมซักนิดเดียว ผมคงจะไม่ดัง ไม่ได้มีตำแหน่งทางวิชาการ หรือว่าไม่น่าเชื่อถือ และอีกเหตุผลอื่นๆอีกนานับประการ

    ReplyDelete
  57. ผมคิดว่าข้อสอบ O-NET เป็นตัวสะท้อนถึงความล้มเหลวทั้งกระบวนการของระบบการศึกษาไทย ที่หลักสูตรการสอนมักมุ่งเน้นเพียงวัดสติปัญญาเพียงด้านเดียว? หรือไม่ก็มีความลักลั่นเกิดขึ้น คือ การสอนที่ไม่ได้มุ่งเน้นกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ เลยทำให้เด็กวิเคราะห์ไม่เป็นหรือวิเคราะห์ไม่ถูกจุด ตามการวัดผลผ่านระบบการสอบ O-NET หรือเด็กวิเคราะห์เป็นแต่ไม่ตรงตามผู้วัดผลเพราะเห็นว่าความคิดของเด็กผิดแผกไปจากมุมมองผู้ทดสอบ ดังนั้นเหตผลที่เขาเลือกจึงผิด อันนี้สะท้อนภาพชัดเจนว่า ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้ทดสอบและผู้สอบนั้น ถูกตัดสินความถูกต้องตามที่ผู้ออกได้ตีกรอบไว้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นข้อสอบที่สทศ.ออกแม้ว่าจะถามในเชิงอัตวิสัย แต่จะต้องตอบแบบวัตถุวิสัยเท่านั้น เพราะว่าเราไม่ต้องการความคิดเห็นจากประสบการณ์หรือความคิดของคุณ แต่เราต้องการให้คุณคิดตรงกับที่เราคิด อันนี้คือความสัมพันธ์ที่มีความเป็นเผด็จการอยู่ นั่นก็คือ ระบบการศึกษาที่พร่ำสอนในเรื่องประชาธิปไตย กลับปลูกฝังให้ยอมรับอำนาจแบบชี้นำโดยดุษฎี ในส่วนนี้จึงลดทอนคุณค่าของเหตุผล



    (De Rationalization ) ลดทอนความเท่าเทียมและคุณค่าความเป็นมนุษย์เพียงเพราะประสบการณ์ของผู้ใหญ่ย่อมดีกว่าของเด็กอยู่วันยังค่ำ
    บทสรุป
    ผู้เขียนเชื่อว่าปัญหามุมมองที่แตกต่างกันในประเด็น O-NET ระหว่างผู้ออกข้อสอบอย่าง สทศ. และ นักเรียนผู้สอบ คงจะหาจุดที่บรรจบกันยาก ด้วยเหตุผลที่ตั้งอยู่ในพื้นฐานทางความคิดคนแบบ ประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายที่ต่างกัน ทำให้มองจากความต้องการของแต่ละฝ่ายที่แตกต่างกัน คะแนน O-NET มีผลต่อการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งต่างก็มีความมุ่งหวังที่จะทำข้อสอบให้ได้คะแนนดี แต่ทว่าพวกเขาพบเจอกับข้อสอบที่อยู่เหนือความคาดหมายและก็ไม่มั่นใจว่าจะทำถูกใจผู้ออกข้อสอบหรือไม่ ในขณะที่สทศ.ก็มุ่งมั่นที่จะแก้ไขระบบการศึกษาทั้งระบบโดยใช้วิธีการนำ O-NET มาเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อให้เด็กได้ผ่านการทดสอบที่มีความซับซ้อน และเฟ้นหานักเรียนที่มีคุณสมบัติดีตามการทดสอบเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งกว่าจะมาถึงจุดนี้อาจจะต้องผ่านการสอบที่มีจำนวนวิชามากที่สุดในประวัติศาสตร์การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไทย มีทั้ง O-NET GAT PAT ตรงนี้ผมว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุดตรงที่ การสอบดังกล่าวนั้น ไม่เคยลดการเรียนกวดวิชาของนักเรียนได้เลย ยิ่งกลับกลายเป็นโรงเรียนกวดวิชาก็ปรับตัวจากที่เคยติวกันแต่วิชาหลัก ก็มาติวทุกวิชาที่ สทศ.จัดสอบ นี่ก็เป็นการจัดสอบที่มากมายเหล่านี้และเอื้อประโยชน์ให้กับโรงเรียนกวดวิชาหลากหลายสถาบัน ผมคิดว่านักการศึกษาไทยนี่มีปัญหาในเรื่องการมองสังคม และมักใช้วิธีการแก้ปัญหาเชิงสหสัมพันธ์แบบปฏิฐานนิยม[8] เช่นถ้าทำอีกสิ่งหนึ่งก็จะทำให้มีผลกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ถ้ามีการสอบ O-NET รวมกับการใช้ GPAX และอื่นๆ จะทำให้การกวดวิชาลดลงและเด็กหันมาสนใจเรียนในชั้นเรียนมากขึ้น ซึ่งผมคิดว่าบางทีมันอาจจะไม่มีสหสัมพันธ์กันเลยก็ได้ เพราะจากข้อมูลเชิงประจักษ์ก็พบว่ามีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีคอร์สการกวดวิชาใหม่ๆเพิ่มขึ้น จากเมื่อก่อนมาก อันนี้คือการปรับตัวของโรงเรียนกวดวิชา ตามกระแสการเปลี่ยนแปลงระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

    ReplyDelete
  58. ในมุมมองกลับกันการสอบ O-NET GAT และ PAT นั้นอาจกลายเป็นความหวังดีแต่มีผลร้ายต่อเด็กก็ได้ ผมคิดว่าเด็กเครียดมากขึ้นต่อความไม่แน่นอนที่พวกเขาไม่สามารถคาดเดาหรือตระเตรียมก่อนหน้านี้ การเปลี่ยนรูปแบบบ่อยๆก็มีผลต่อ ผู้สอบ ซึ่งต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมนำมาซึ่งความตึงเครียด การต่อสู้ การรักษาผลประโยชน์ และอื่นๆอีกมากมาย ผมจึงไม่อยากให้ระบบแอดมิชชันส์เป็นทางเลือกเดียวในการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ดังที่หลายๆฝ่ายพยายามกระทำอยู่เพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบหลายๆที่ ตรงนี้ผมเห็นว่าเป็นการตัดวงจรของคนบางกลุ่มออกไป ให้ออกไปจากสิทธิ ที่พวกเขาพึงจะได้รับทางเลือกให้เหมาะสมกับพวกเขาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดีกว่าไม่มีสิทธิที่จะได้เลือกอะไรเลยอันเนื่องมาจากมุมมองเชิงสิทธิอำนาจจากผู้กำหนดนโยบายที่ผูดขาดวิธีคิดแบบคับแคบ โดยที่ไม่ยอมรับความเป็นประชาธิปไตยที่ผ่านเสียงสะท้อนจากเด็กอีกหลายๆคน

    * นิสิต ปริญญาโท สาขา สังคมวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(ติวเตอร์รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่ Tutor House สาขาเดอะมอลล์บางแค และ Blue Planet) ผู้ศึกษาในหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเมืองเรื่อง แอดมิชชันส์ มองผ่านวิภาษวิธีโพสต์มาร์กซิสต์” ซึ่งเป็นการเสนอภาพความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและวิพากษ์ผ่านมุมมองสะท้อนภาวะในเชิงทฤษฎีสังคมวิทยาในกลุ่มสำนักมาร์กซิสต์
    [1] ได้รับฟังจากรายการข่าวเรื่องเด่นเย็นนี้นำทีมโดยคุณสรยุทธ์ นำสัมภาษณ์เด็กที่ผ่านการสอบ O-NET และระบายความรู้สึกผ่านทางรายการ
    [2] ข้อสอบที่มีความกระจ่างชัด มีคำตอบที่ชัดเจน ไม่มีอคติหรืออารมณ์ ความรู้สึก เพื่อให้เลือกคำตอบถูกต้องที่สุดจากตัวเลือกที่กำหนดให้ แม้ว่าตัวเลือกบางตัวจะมีลักษณะลวงเพื่อเน้นการคิดเชิงวิเคราะห์ แต่ข้อสอบดังกล่าวจะต้องไม่คลุมเครือ หรือตีความได้หลายแบบ
    [3] คำถามที่เน้นอารมณ์ ความรู้สึก การแสดงความคิดเห็น การเลือกตัดสินใจ โดยเน้นข้อคิดเห็นของผู้ตอบต่อสถานการณ์
    [4] เป็นแนวคิดของ John Dewey เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์และการปฏิบัติเพื่อแก้ไขหรือเลือกตัดสินใจกระทำตามสิ่งที่ได้สั่งสมเรียนรู้มา ซึ่งเป็นแนวคิดที่เน้นเชิงปฏิบัติหรือความจริงมากกว่าอุดมคติ
    [5] แนวคิดที่เน้นตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือเน้นความสนใจเฉพาะด้านตามสิ่งที่ตนเองปรารถนา และแนวคิดดังกล่าวมีอิทธิพลต่อนักคิดสาย Marxist และ Post Modern เน้นการปลดปล่อยตนเองจากการครอบงำและการดำรงอยู่ด้วยตนเองเป็นหลักหรือที่เรียกว่า การปลดปล่อย(Emancipation)แนวคิดนี้เป็นแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาแบบถอนรากถอนโคน
    [6] ข้อสอบบางส่วนในกลุ่มสาระวิชาสุขศึกษาที่เด็กที่เข้าร่วมรายการเล่าให้คุณสรยุทธ์ฟัง
    [7] เป็นมุมมองหลังโครงสร้างนิยมที่พยายามตั้งคำถามกับโครงสร้างเนื้อหา Text Structure ว่าเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดนั้นมีบางสิ่งถูกซุกซ่อนอยู่
    [8] เป็นการใช้ค่าเชิงปริมาณเพื่อเทียบเคียงข้อเท็จจริงและสามารถพิสูจน์ได้ วิธีการอรรถฐาธิบายนั้นมีการทดสอบเพื่อพิสูจน์ความเป็นสามัญ เช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์

    ReplyDelete